โดยปกติหลอดเลือดของคนเราจะมีความยืดหยุ่น มีลักษณะเหมือนท่อนำเลือดไหลไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย แต่ถ้าเกิดมีคราบไขมัน คอลเลสเตอรอล และสารอื่นๆ เช่น แคลเซียมหรือหินปูนไปเกาะผนังหลอดเลือด ก็จะทำให้หลอดเลือดค่อยๆตีบและตันได้
บางกรณีอาจเกิดหลอดเลือดแตกได้ด้วย ซึ่งมักเกิดจากความดันโลหิตสูง ที่ควบคุมไม่ดี เพราะมีสิ่งที่สะสมเกาะผนังหลอดเลือดอยู่ทำให้ผนังหลอดเลือดเปราะบาง อ่อนแออยู่แล้ว เมื่อมีแรงดันเลือดสูงจากความดันโลหิตสูง หลอดเลือดทนไม่ไหว
ก็แตกได้
กระบวนการตีบตันของหลอดเลือดใช้เวลานานนับ 10 ปี ไม่มีอาการเตือน จนกว่าจะตีบตันไปมากแล้วจึงแสดงอาการ บางคนถึงขั้นหัวใจวาย หรือเส้นเลือดสมองแตกไปแล้วจึงรู้
การตีบตันของหลอดเลือด สามารถแสดงอาการได้แทบทุกส่วนของร่างกายที่มีเลือดไปเลี้ยง บริเวณที่พบบ่อยและเป็นปัญหาใหญ่ คือ ที่สมองและหัวใจ
ถ้าเป็นที่หลอดเลือดหัวใจ ก็ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันหรือโรคหลอดเลือดแดงอุดตัน และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือด เช่น หัวใจขาดเลือด ที่จะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก
ถ้าเป็นที่หลอดเลือดในสมอง ก็ทำให้เกิดอาการเส้นเลือดสมองอุดตัน และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือด เช่น โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ที่จะมีอาการปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก
ภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดที่ตามมา เป็นอันตราย อาจทำให้เกิดการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน
แคลเซียมหรือหินปูนเกาะผนังหลอดเลือด พบบ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน และถือเป็นสัญญาณเตือนของโรคหัวใจและหลอดเลือด
รู้หรือไม่! คนไทยป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่า 4.3 แสนคน และเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจกว่า 2 หมื่นคนต่อปี
สาเหตุของแคลเซียมหรือหินปูนเกาะผนังหลอดเลือด ปัจจุบันไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะคนเมืองที่ต้องใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ มักทานอาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารที่มีไขมันสูง สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ พักผ่อนน้อย สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือด เกิดความเสื่อมและการอักเสบของหลอดเลือด เมื่อเกิดการอักเสบของหลอดเลือด เหมือนเป็นแผล ร่างกายพยายามจะซ่อมแซมหลอดเลือดด้วยการนำแคลเซียมไปอุดไว้ ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง จนอาจนำไปสู่การเสียชีวิตจากโรคต่างๆ นอกจากนี้ภาวะกระดูกบางและโรคกระดูกพรุนเอง ก็เพิ่มความเสี่ยงแคลเซียมหรือหินปูนเกาะผนังหลอดเลือดได้ด้วย เพราะกระดูกบาง และกระดูกพรุน ร่างกายจะสลายมวลกระดูก หรือสูญเสียแคลเซียมออกจากกระดูกอยู่ตลอดเวลา
ทำให้แคลเซียมในหลอดเลือดสูงขึ้น และยิ่งในผู้ที่มีไขมันเกาะตามผนังหลอดเลือดอยู่แล้ว แปลว่าหลอดเลือดมีการอักเสบ ยิ่งทำให้แคลเซียมไปเกาะผนังหลอดเลือด หลอดเลือดก็แข็ง และตีบตันมากขึ้น
ปัจจัยเสี่ยง…แคลเซียมหรือหินปูนเกาะผนังหลอดเลือด มีอะไรบ้าง ?
- LDL Cholesterol สูง
- ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูง ทำให้หลอดเลือดอักเสบ หลอดเลือดอ่อนแอ
- การสูบบุหรี่ ทำให้หลอดเลือดอักเสบ
- เบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดสูงทำให้หลอดเลือดอักเสบ
- การขาดการออกกำลังกาย ซึ่งจะเพิ่มการสะสมไขมันในร่างกายและการสะสมไขมันในหลอดเลือด
- โรคอ้วน
- พันธุกรรม คนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
- อายุมาก หลอดเลือดใช้งานมานาน ผนังหลอดเลือดเกิดความเสื่อม
- กระดูกพรุน กระดูกบาง ร่างกายสลายมวลกระดูก หรือสูญเสียแคลเซียมออกจากกระดูกอยู่ตลอดเวลา ทำให้แคลเซียมในหลอดเลือดสูงขึ้น
- ขาดวิตามิน K2 และวิตามินD วิตามินทั้ง 2 ชนิดนี้เป็นตัวนำแคลเซียมเข้าสู่กระดูก ทำให้แคลเซียมอยู่ในบริเวณที่เหมาะสม ไม่เกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือดหรือเนื้อเยื่ออ่อน
- เสริมแคลเซียม (อาจเป็นสาเหตุ และไม่ใช่สาเหต)
เนื่องจากแคลเซียมมีหลายชนิด
- แคลเซียมที่ใช้โดยทั่วไป มีการละลายน้ำน้อย ดูดซึมไม่หมด ได้แก่ calcium carbonate , calciumcitrate, และ calcium gluconate มีการศึกษาวิจัยว่าอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้แคลเซียมหรือหินปูนเกาะผนังหลอดเลือดได้
- แคลเซียมที่ดูดซึมได้ดี ไม่ใช่สาเหตุของหินปูนหรือแคลเซียมเกาะผนังหลอดเลือด
Calcium L-threonate (แคลเซียมแอลทรีโอเนต ) มีคุณสมบัติดูดซึมได้ดีในตัวเอง ดูดซึมโดย Passive transport แตกต่างจากแคลเซียมชนิดอื่นๆ และจากข้อมูลการศึกษาวิจัยทางคลินิก (clinical trial) หรือการศึกษาวิจัยในมนุษย์ ได้ศึกษาทางPharmacokinetics หรือ เภสัชจลนศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาหนึ่งที่อยู่ในหลักสูตรการเรียนเภสัช
โดย Pharmacokinetics จะหมายถึง การเป็นไปของยา เมื่อ ยาเข้าสู่ร่างกาย
พบว่า แคลเซียมแอลทรีโอเนต ดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อวัดปริมาณในเลือดที่เวลาต่างๆ พบว่าไม่มีการตกค้างในกระแสเลือด
นอกจากนี้องค์การความปลอดภัยอาหารแห่งยุโรป (EFSA) สนับสนุนการใช้แคลเซียมแอลทรีโอเนต เป็นแหล่งแคลเซียมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้อย่างปลอดภัย
สรุป!! แคลเซียมเสริมไม่ใช่ สาเหตุที่สำคัญ ที่ทำให้เกิดแคลเซียมหรือหินปูนเกาะผนังหลอดเลือด สิ่งสำคัญคือปัจจัยที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ทั้งหมด คือ ไขมันและการอักเสบของหลอดเลือด
แต่หากมีความกังวลใจ ควรเลือกแคลเซียมที่มีการดูดซึมที่ดี ไม่ตกค้างในหลอดเลือด อย่างแคลเซียมแอลทรีโอเนต แล้วอาจเสริมด้วยวิตามินK2 วิตามินD เพื่อช่วยนำแคลเซียมส่วนเกินจากภาวะต่างๆ ไปเก็บที่กระดูก ไม่เกาะที่ผนังหลอดเลือด
การทานแคลเซียมเสริมจำเป็นหรือไม่ ? การสำรวจสุขภาพประชากร ของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข ในปีต่างๆ ตั้งแต่ 2536, 2546,2547 พบว่าคนไทยในวัยผู้ใหญ่ ได้รับแคลเซียมจากอาหาร ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดมาก ดังนั้น การทานแคลเซียมเสริมจึงเป็นเรื่องสำคัญ
การตรวจ Calcium Score (CT Coronary Calcium Score
เป็นการตรวจหาหินปูนหรือแคลเซียมที่อาจเกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือด ลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ด้วยเทคนิคการสแกนคอมพิวเตอร์ของหัวใจ โดยจะสร้างภาพของหินปูนเกาะในหลอดเลือด และคำนวณค่าความเสี่ยงเบื้องต้น
ผลระดับคะแนน ตั้งแต่ 0-400 ขึ้นไป
- คะแนน 0 แปลว่าความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลันต่ำ
- คะแนน 1-10 ความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลันน้อย หรือเพียง 10%
- คะแนน 11-100 ความเสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลันปานกลาง แพทย์อาจแนะนำให้ออกกำลังกาย หรือปรับอาหารให้เหมาะสม
- คะแนน 101-400 ปริมาณหินปูนปานกลางถึงสูง แพทย์อาจแนะนำการรักษาหรือการตรวจเพิ่มเติม
- คะแนน 400 ขึ้นไป อาจมีภาวะหลอดเลือดตีบแฝงอยู่ และมีโอกาสหัวใจวายเฉียบพลันสูง แพทย์อาจพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
การป้องกันรักษา
1. บุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยง แคลเซียมหรือหินปูนเกาะผนังหลอดเลือด ทั้ง 11 ข้อ ข้างต้น ( LDL Cholesterol สูง ,ความดันโลหิตสูง, สูบบุหรี่, เบาหวาน,การขาดการออกกำลังกาย, โรคอ้วน,พันธุกรรม คนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด,อายุมาก, กระดูกพรุน กระดูกบาง, ขาดวิตามินK2 และวิตามินD, เสริมแคลเซียมที่ดูดซึมน้อย)
แม้ยังไม่มีอาการก็ควรตรวจ Calcium Score (CT Coronary Calcium Score ) ควบคู่กับการตรวจไขมัน เบาหวานและความดันเป็นประจำทุกปี
2.เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันดี หลีกเลี่ยงอาหารไขมันอิ่มตัวสูง แป้ง น้ำตาลที่มากเกินไป
3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์
4.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
5. เครียดน้อย รู้จักผ่อนคลายความเครียด ความเครียดสูงทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
6. เสริมวิตามินK2 และวิตามินD
ช่วยนำแคลเซียมส่วนเกินในหลอดเลือดไปเก็บสะสมในกระดูก ไม่เกาะที่ผนังหลอดเลือด เป็นวิตามินที่คนส่วนใหญ่ขาด
7. แพทย์อาจพิจารณาให้ยาสแตติน (Statins) หรืออื่น ๆ เพื่อช่วยลดไขมันและควบคุมระดับคอเลสเตอรอล
References (เอกสารอ้างอิง)
1. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563.
2.Myung SK, et al. Calcium supplements and risk of cardiovascular disease: A meta-analysis of clinical trials. Nutrients. 2021; doi:10.3390/nu13020368.
3. Wang HY, Hu P, Jiang J. Pharmacokinetics and safety of calcium L-threonate in healthy volunteers after single and multiple oral administrations. Acta Pharmacol Sin 2011;32:1555-60.
4. European Food Safety Authority (EFSA). Opinion on calcium L-threonate for use as a source of calcium in food supplements. EFSA J 2008;866:1-20.
5.บทความ รพ.พญาไท หินปูนเกาะหลอดเลือดหัวใจ ตัวการร้ายทำหลอดเลือดหัวใจตีบ
https://www.phyathai.com/th/article/calcified-plaques-coronary-artery-disease
6. บทความ รพ.บำรุงราษฎร์ หินปูน เกาะหลอดเลือดหัวใจ Level ไหน..เสี่ยงหัวใจวายเฉียบพลัน
https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/november-2020/calcified-plaques-increase-risk-heart