แคลเซียม ถูกดูดซึมด้วย 2 กระบวนการ
1. Active transport
2.Passive transport หรือ passive diffusion
Active transport
เกิดขึ้นที่ลำไส้เล็ก เป็นการขนส่งสารอาหารโดยใช้พลังงาน ต้องอาศัยวิตามินD และวิตามินK2 แคลเซียมทั่วไป และแคลเซียมจากอาหาร ใช้กระบวนการนี้
อธิบายกลไก จากรูป
วิตามินD ไปกระตุ้นเซลล์ Osteoblast หรือเซลล์สร้างกระดูก ให้สร้างโปรตีน Osteocalcin
วิตามินK2 กระตุ้นให้ Osteocalcin แอคทีฟ เพื่อให้ไปจับแคลเซียมในหลอดเลือด แล้วนำแคลเซียมเข้าสู่กระดูก
เมื่อแคลเซียมเข้ากระดูกก็ทำให้กระดูกแข็งแรง นั่นคือผลลัพธ์ที่ร่างกายต้องการจากการทานแคลเซียม
ในขณะเดียวกัน วิตามินเค2 ที่อยู่ในหลอดเลือด ทำให้เกิดการสร้างโปรตีน Matrix-Gla Protein ทำให้เกิดการผลักแคลเซียม ไม่ให้เกาะที่ผนังหลอดเลือดด้วย จึงป้องกันหลอดเลือดแข็ง ลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
Passive transport หรือ passive diffusion
เป็นการขนส่งสารอาหารแคลเซียมแบบไม่ใช้พลังงาน ใช้การแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ ดูดซึมได้ด้วยตัวเอง
แคลเซียมแอลทรีโอเนต ดูดซึมโดยกระบวนการนี้ ซึ่งเป็นกระบวนการดูดซึมที่ต่างจากแคลเซียมทั่วไป
ตามการศึกษาวิจัยระบุว่า มีการดูดซึมหมด ไม่ตกค้าง
ในชีวิตประจำวัน คนเราต้องการแคลเซียมจากอาหารเป็นหลัก ซึ่งแคลเซียมจากอาหารมีการดูดซึมด้วยกระบวนการ active transport ต้องการวิตามินK2 และวิตามินD แคลเซียมถึงเข้ากระดูกได้ และ การที่มีวิตามินเค2 ก็ทำให้แคลเซียมไม่เกาะผนังหลอดเลือดด้วย
หลายคนยังไม่รู้จัก วิตามินK2 เพราะวิตามินเK2 เพิ่งถูกค้นพบเมื่อไม่กี่ปี แต่มีความสำคัญมากกับกระดูกและหลอดเลือด ตามกลไกด้านบน
วิตามินK2 ไม่เหมือนกับวิตามินK1 และมีหน้าที่ที่แตกต่างกันชัดเจน
ในอาหารทั่วไป มีวิตามินK1 เพียงพอ มีมากในผักใบเขียว น้ำมันพืช แต่วิตามินK2 มีในอาหารทั่วไปน้อย ส่วนใหญ่วิตามินK2 มีในอาหารไขมันสูง และต้องทานเยอะ วิตามินK2 มีในนัตโตะ อาหารของญี่ปุ่น แต่นัตโตะต้นตำรับที่ไม่มีการปรุงรส ก็จะมีกลิ่นแรง ทานยากอีก ถ้าปรุงรสให้ทานง่าย ก็อาจจะมีโซเดียมมาก
ดังนั้น เราจึงมีโอกาสที่จะขาดวิตามินK2 ได้ ในปัจจุบันเราจะเห็นว่ามีผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่มีวิตามินK2 แนะนำให้เลือก วิตามินK2 ในรูป MK-7 เพราะอยู่ในกระแสได้นานที่สุด ผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียนในประเทศไทย อย.กำหนดให้ใส่วิตามินK2 ได้สูงสุด 75 ไมโครกรัม/เม็ด
วิตามินD
มีรายงานวิจัยที่พบว่า คนไทยขาดวิตามินD 45% และคนในกรุงเทพฯ ขาดวิตามินDถึง 70 %
วิตามินDมี 2 รูปแบบ คือ วิตามินD2 และวิตามิน D3 ควรเลือกวิตามินD3 มากกว่า เพราะสามารถเพิ่มระดับวิตามินดีในเลือดได้มากกว่า วิตามินD2 56-87% เลยทีเดียว
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นทะเบียนในประเทศไทย อย.กำหนดให้ใส่วิตามินD3 ได้สูงสุด 200 IU/เม็ด ค่ะ แต่ในอนาคตอาจจะมีปรับเพิ่มขึ้นได้ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อมูลสารอาหาร
ทั้ง แคลเซียม วิตามินK2 และวิตามินD ทำงานลิ้งค์กัน และที่สำคัญคือ คนส่วนใหญ่มักขาดทั้ง 3 สารอาหารนี้ ด้วย
สุขภาพกระดูก ไม่ใช่แค่ทานแคลเซียมอย่างเดียวแล้วกระดูกจะแข็งแรง เราต้องทำความเข้าใจ ข้อเท็จจริงทางการแพทย์ อีกข้อว่า หลังจากอายุ 30 ปี กระดูก มีการสลายตัว มากกว่าการสร้างอยู่แล้วโดยธรรมชาติ และถ้าหากมีปัจจัยก่อนหน้า เช่น ก่อนอายุ30 ปี แคลเซียมเข้ากระดูกน้อย ไม่พออยู่แล้วด้วย ก็ยิ่งทำให้กระดูกสลายตัว บางลงเร็วขึ้น
ตอนที่กระดูกค่อยๆบาง คนส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัว เพราะไม่มีอาการผิดปกติ แต่เมื่อไหร่ที่เริ่มผิดปกติ เริ่มปวด นั่นอาจแปลว่า เป็นเยอะ จนอาจกระดูกพรุน
ซึ่ง ทางการแพทย์มีเป้าหมายของการรักษา กระดูกพรุน คือ เพื่อคงมวลกระดูกไม่ให้ลดลง และป้องกันการเกิดกระดูกหักในอนาคต ไม่ใช่เพื่อเพิ่มมวลกระดูก เพราะการเพิ่มมวลกระดูกนั้นทำได้ยาก
ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิตามินK2
วิตามินเค2 กับบทบาทสำคัญต่อกระดูก หัวใจ หลอดเลือด /ขนาดแนะนำต่อวัน https://www.enelthailand.com/2024/02/13/vitamin-k2-benefits-dosage-and-more/
ทำไมคนส่วนใหญ่จึงขาดวิตามินเค2 ? วิตามินเค2 (Vitamin K2) ในอาหารมีเท่าไหร่ ? เพียงพอต่อกระดูก และหลอดเลือดหรือไม่? https://www.enelthailand.com/2024/03/05/how-much-vitamin-k2-in-food/
ประโยชน์ของ Vitamin K2 ชี้ชัดด้วยข้อมูล Scientific Evidence และงานวิจัยแบบ Meta-Analysis https://www.enelthailand.com/2024/08/20/vitamin-k2-research-and-scientific-evidence/
บทความโดย ภญ.นวพร สุขเดโชสว่าง B.Pharm of Mahidol University
References (เอกสารอ้างอิง)
1.Holick MF, Binkley NC, Bischoff-Ferrari HA, Gordon CM, Hanley DA, Heaney RP, et al. Evaluation,
treatment, and prevention of vitamin D deficiency: an Endocrine Society clinical practice guideline.
J Clin Endocrinol Metab 2011;96:1911-30.)
2.Wang HY, Hu P, Jiang J. Pharmacokinetics and safety of calcium L-threonate in healthy volunteers after single and multiple oral administrations. Acta Pharmacol Sin 2011;32:1555-60.
3.Sato, T., L. J. Schurgers, and K. Uenishi. 2012. “Comparison of menaquinone-4 and menaquinone-7 bioavailability in healthy women.” Nutr J no. 11:93. doi: 10.1186/1475-2891-11-93.
4.Chailurkit L, Aekplakorn W, Ongphiphadhanakul B.Regional variation and determinants of vitamin D status in sunshine-abundant Thailand. BMC Public Health 2011;11:853.
5.Siwamogsatham O, Ongphiphadhanakul B, Tangpricha V.Vitamin D deficiency in Thailand. J Clin Transl Endocrinol. 2014;2(1):48-49. Published 2014 Oct 29.
6.Lehmann U1, Hirche F, StangI GI, Hinz K, Westphal S, Dierkes J. Bioavailability of vitamin D(2) and D(3) in healthy volunteers, a randomized placebo-controlled trial. J Clin Endocrinol Metab. 2013 Nov;98(111):433945.doi:10.1210/jc.20124287.
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง