แสงสีฟ้า มาจากไหน ?
1.ธรรมชาติ คือแสงอาทิตย์
2.อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มี LED เป็นแหล่งกำเนิดแสง เช่น หลอดไฟ โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ แท็บเลต หรือคอมพิวเตอร์
แสงสีฟ้ามีความยาวคลื่นสั้น 415-455 nm มีอำนาจในการทะลุทะลวงอวัยวะต่างๆ ได้ โดยเฉพาะดวงตา ตั้งแต่กระจกตา, เลนส์แก้วตา, และจอประสาทตา ความอันตรายแค่ไหน ขึ้นอยู่กับปริมาณและระยะเวลาที่สัมผัสแสงสีฟ้า
ผลเสียที่เกิดกับดวงตา เพราะแสงสีฟ้า
- ภาวะตาล้า, ปวดตา, ตาแห้ง เพราะต้องเพ่งกล้ามเนื้อตานาน
สารสกัดจากบิลเบอร์รี่ (Bilbery extract) และแอสตาแซนธิน (Astaxanthin) ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดที่ดวงตา ลดอาการตาล้า ปวดตา โอเมก้า3 (Omega3) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง DHA ช่วยลดอาการตาแห้ง - กระจกตาอักเสบ
กระจกตาเป็นส่วนที่อยู่ด้านหน้าสุดของลูกตา แสงสีฟ้า ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ เกิดการอักเสบของเซลล์ผิวกระจกตา ตาแห้ง ระคายเคืองตา ถ้าสัมผัสแสงสีฟ้าปริมาณมากและนาน ก็อาจทำให้เกิดแผลที่กระจกตาได้ - ต้อกระจก
ถัดจากกระจกตาเข้าไปเป็นเลนส์แก้วตา เมื่อสัมผัสแสงสีฟ้า ทำให้เกิดอนุมูลอิสระ เกิดการอักเสบ เลนส์แก้วตาเปลี่ยนเป็นสีขุ่นมัว
ลูทีน และซีแซนทีน เป็นสารสีที่อยู่ที่เลนส์ตา ต้านอนุมูลอิสระ การได้รับลูทีนและซีแซนทีนที่เพียงพอ ช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของต้อกระจก - จอประสาทตาเสื่อม
แสงสีฟ้า ที่ผ่านเลนส์แก้วตาไปถึงจอประสาทตาได้ ทำให้เกิดจอประสาทตาเสื่อม มีอาการตามัว มองไม่ชัด ตาสู้แสงไม่ได้ เห็นสีเพี้ยน เห็นจุดดำตรงกลางภาพ ซึ่งถ้าหากรุนแรง ทำให้ตาบอดได้
ลูทีน และซีแซนทีน เป็นสารสีที่อยู่ที่จอประสาทตา มีหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระ การได้รับลูทีนและซีแซนทีนที่เพียงพอ ช่วยป้องกันและลดความรุนแรงของจอประสาทตาเสื่อม
การดูแลรักษาและป้องกัน แสงสีฟ้า
- แว่นกันแดดที่สามารถกรอง UV ได้ 99-100% กรองแสงที่มองเห็นได้ 75-90%
- ลดแสงหน้าจอให้รู้สึกสบายตา
- ไม่ควรปิดไฟเล่นมือถือ เพราะทำให้รูม่านตาขยายมากกว่าปกติ แสงเข้าดวงตามากขึ้น
- เพิ่มการทานสารอาหารบำรุงสายตา เพื่อลดอาการตาแห้ง ตาล้า ต้านอนุมูลอิสระ เช่น Omega3 DHA , Bilbery Extract, Lutein, Zeaxanthin, Lycopene, Astaxanthin, Vitamin C, Zinc
- อายุ 40ปี ขึ้นไป ตรวจสุขภาพดวงตา ปีละ 1 ครั้ง
- น้ำตาเทียม มี 2 แบบ แบบมีสารกันเสีย ไม่ควรใช้ติดต่อกัน เพราะสารกันเสียทำลายเซลล์ผิวกระจกตก ส่วนแบบไม่มีสารกันเสีย ต้องใช้ให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง
Reference (เอกสารอ้างอิง)
1.Ribaya-Mercado JD, Blumberg JB. Lutein and zeaxanthin and their potential roles in disease prevention. JACN 2004;23:567S-587S.
2.Zhao ZH, Zhou Y, Tan G, Li J. Research progress about the effect and prevention of blue light on eyes. Int J Ophthalmol 2018; 11(12): 1999-2003
3. Krinsky NI, Landrum JT, Bone RA. Biologic mechanisms of the protective role of lutein and zeaxanthin in the eye. Annu Rev Nutr 2003;23:171-201.
4. Zhao L, Sweet BV. Lutein and zeaxanthin for macular degeneration. Am J Health-Syst Pharm 2008;65:1232-8.
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง