สารอาหารที่สำคัญต่อกระดูก สายตา สมอง หัวใจ หลอดเลือด
Vitamin K2 (วิตามินเค2) เป็นวิตามินที่ละลายและดูดซึมได้ในไขมัน
- สำคัญต่อกระดูกและฟันที่แข็งแรง เนื่องจากช่วยนำแคลเซียม จากหลอดเลือดไปเก็บสะสมไว้ในกระดูกและฟัน จึงป้องกันภาวะกระดูกบาง และป้องกันโรคกระดูกพรุน
- ป้องกันแคลเซียมเกาะหลอดเลือดและเนื้อเยื่ออ่อน จึงลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง และภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว
- เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด ช่วยให้เลือดหยุดไหล
รู้หรือไม่ ทำไมต้องเสริมวิตามินเค2 เป็นประจำ?
- ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนในปัจจุบัน ตั้งแต่การบริโภคอาหาร หวาน มัน น้ำตาลเทียม การใช้ยาปฏิชีวนะ ทำให้จุลินทรีย์ตัวดีในทางเดินอาหาร ที่ผลิต วิตามินเค2 ลดลงอย่างมาก
- วิตามินเค2 รูปแบบ Menaquinone-7 (MK-7) และมีโครงสร้างโมเลกุลแบบทรานส์ (trans) รูปแบบ MK-7 ละลายและดูดซึมในไขมันได้ดีที่สุด และอยู่ในร่างกายได้นานที่สุด โครงสร้างโมเลกุลแบบทรานส์ (trans) มีฤทธิ์ทางชีวภาพ
Vitamin D3 (วิตามินดี3) เป็นวิตามินที่ละลายและดูดซึมได้ในไขมัน
- มีความสำคัญต่อกระดูกที่แข็งแรง โดยช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ทำงานร่วมกับวิตามินK นำแคลเซียมเก็บสะสมใน กระดูกและฟันป้องกันการสูญเสียแคลเซียมออกจากกระดูกโดยลดฮอร์โมนพาราไทรอยด์
- มีความสำคัญต่อกล้ามเนื้อที่แข็งแรง โดยการรักษาเส้นใยกล้ามเนื้อ จึงป้องกันการหกล้มง่ายในผู้สูงอายุ
- กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น ต่อต้านเชื้อโรค
- ช่วยลดความเครียด และภาวะซึมเศร้า โดยช่วยให้สมองหลั่งสารเซโรโทนินมากขึ้น
- ช่วยปรับสมดุลน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน โดยเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน
รู้หรือไม่ ทำไมต้องเสริมวิตามินดี3 เป็นประจำ?
- 45% ของประชากรคนไทย ขาดวิตามินดี
- 71.4 % ของคนไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครขาดวิตามินดี
- การตรวจวิตามินดีในเลือด ถ้าผล 25(OH)D น้อยกว่า 20 ng/mL ถือว่ามีภาวะขาดวิตามินดี
- วิตามินดี3 มีชีวประสิทธิผลสูงกว่า วิตามินดี2 เนื่องจาก สามารถเพิ่มระดับวิตามินดีในเลือดได้มากกว่าวิตามินดี2 ถึง 56-87% และ วิตามินดี3 ยังถูกเก็บสะสมไว้ในเนื้อเยื่อไขมันได้ดีกว่าวิตามินดี2 ถึง 3 เท่า
Fish oil (น้ำมันปลา) มีกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่สำคัญคือ กรดไขมันดีเอชเอ (Docosahexaenoic Acid: DHA) และ กรดไขมันอีพีเอ (Eicosatetraenoic Acid: EPA) เป็นกรดไขมันจำเป็น(essential fatty acid) ชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFAs) ที่ร่างกายผลิตขึ้นเองไม่ได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหารที่รับประทานเท่านั้น กรดไขมัน DHA และกรดไขมัน EPA มีความสำคัญต่อหลายระบบในร่างกาย ช่วยส่งเสริมสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด, สุขภาพสมอง, สุขภาพดวงตา, ลดอาการอักเสบในร่างกาย เช่น การอักเสบที่ข้อเข่า ผิวหนังอักเสบ
DHA เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์หลายชนิด โดยเฉพาะในสมอง จอประสาทตา และเนื้อเยื่อประสาทอื่นๆ 40% ของกรดไขมันในสมอง และ 60% ของกรดไขมันในประสาทตา เป็น DHA
DHA จึงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและการทำงาน ของดวงตาและสมอง ช่วยเรื่องการมองเห็น ช่วยเพิ่มการเรียนรู้ ความจำ ต้านการเสื่อมของสมอง DHA จะพบมากในนมแม่ ปลาทะเลน้ำลึก และสามารถพบได้ในปลาน้ำจืดบางชนิดที่มีไขมันสูงอย่าง ปลาสวาย ปลาช่อน เป็นต้น
EPA ลดอาการอักเสบ ส่งเสริมสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือดช่วยลดไตรกลีเซอไรด์ ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดป้องกันการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองอุดตัน
รู้หรือไม่ ทำไมต้องเสริมโอเมก้า 3 เป็นประจำ?
- ในแต่ละวัน ควรรับประทานกรดไขมันโอเมก้า 6 : กรดไขมันโอเมก้า 3 ในสัดส่วนที่สมดุลกัน 1:1 หรือ 4:1 ไม่ควรเกิน 5:1
- อาหารที่คนทั่วไปบริโภค มักมีน้ำมันพืช อาหารผัด อาหารทอด ไข่ ถั่ว เนื้อสัตว์ ซึ่ง มีกรดไขมันโอเมก้า 6 มากกว่า กรดไขมันโอเมก้า 3 ถึง 10 เท่า การบริโภคกรดไขมันโอเมก้า 6 มาก จะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบ และนำไปสู่ความเสื่อมต่างๆ ของร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและ หลอดเลือดอุดตัน
Coenzyme Q10 (โคเอนไซม์คิวเทน) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ พบได้ในทุกเซลล์ของร่างกาย ช่วยในการผลิตพลังงานภายในเซลล์ของร่างกาย โดยพบมากใน หัวใจ ไต ตับ ส่งเสริมสุขภาพของหัวใจ โดยผลิตพลังงานของ เซลล์ในกล้ามเนื้อหัวใจ จึงช่วยลดความอ่อนเพลีย
รู้หรือไม่ ทำไมต้องเสริมโคเอนไซม์คิวเทน?
- หลังอายุ 21 ปี – 30 ปี ร่างกายสร้างโคเอนไซม์คิวเทน น้อยลง ทำให้หลายคนมีอาการใจสั่น เหนื่อยล้าอ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรง วิงเวียนศีรษะ