โรคข้อเสื่อม เป็นโรคที่กระดูกอ่อนผิวข้อต่อเกิดการเสื่อม และสึกกร่อน เกิดได้เกือบทุกข้อต่อของร่างกาย มักเป็นที่ข้อเข่า เรียกว่า “ข้อเข่าเสื่อม” พบในอายุโดยเฉลี่ย 40ปี ขึ้นไป
โรคข้อเสื่อม
อาจเกิดจากน้ำหนักตัวมากกดทับกระดูกอ่อนผิวข้อต่อ ,การใช้งานข้อไม่ถูกต้อง เช่น นั่งยองๆ , วิ่งกระแทกแรงๆ ,อุบัติเหตุ , โรคประจำตัว เช่น รูมาตอยด์ , เก๊าท์,กระดูกพรุน
อาการโรคข้อเสื่อม
- ปวดบริเวณข้อและปวดมากขึ้นเมื่อใช้งาน
- มีเสียงในข้อกรอบแกรบเมื่อขยับ
- ข้อตึง ,ฝืด เมื่อเป็นมากขึ้นจะปวดมาก ข้อบวมอักเสบ ข้อผิดรูป ถ้าเป็นที่ข้อเข่า จะเห็นชัดเจนว่า ข้อเข่าเปลี่ยนรูปโก่งออก
การรักษา
ไม่หายขาด แต่ควบคุมดูแลให้ดีขึ้นได้
- ทานยาแก้ปวด ตามอาการ
- ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อข้อต่อ
- ใช้ข้อให้ถูกต้อง เช่น ไม่นั่งยองนาน, ไม่นั่งขัดสมาธิ
- ประคบเย็นเมื่อปวดภายใน 48 ชม. แล้วประคบร้อนหลังปวด 48 ชม.
- ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม
- เสริมแคลเซียมแอลทรีโอเนต สร้างคอลลาเจนที่กระดูก เอ็น และข้อต่อได้
*แคลเซียมชนิดอื่น ไม่มีคุณสมบัตินี้
อ่านเพิ่มเติม >> https://www.enelthailand.com/2023/01/23/why-should-calcium-l-threonate-non-gmo/
โรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน คือ การที่มวลกระดูกลดลง(วัดจากปริมาณแคลเซียมในกระดูก)
ซึ่งสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น มลพิษทางอากาศ, PM2.5,โลหะหนัก, การทานอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมและสารอาหาร ไม่เพียงพอ อายุมากขึ้น (อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป กระดูกบางลงปีละ 1-3%)
อาการ
- ไม่มีอาการแสดงเตือน จนเริ่มส่วนสูงลดลง
- ปวดกระดูกลึกๆ กระดูกหักง่ายเมื่อเกิดอุบัติเหตุเล็กๆน้อยๆ
การรักษา
- ยาป้องกันการสลายกระดูก
- ยากระตุ้นสร้างกระดูก
- ออกกำลังกายเน้นการลงน้ำหนัก กระตุ้นเซลล์สร้างกระดูก เช่น เดิมเร็ว, รำมวยจีน,ว่ายน้ำ
- เสริมแคลเซียม วิตามินดี และสารอาหารที่ทำงานร่วมกับแคลเซียม
(** ควรเลือกแคลเซียมดูดซึมดี จากอาหารธรรมชาติ)
อ่านเพิ่มเติม >> https://www.enelthailand.com/2023/01/23/why-should-calcium-l-threonate-non-gmo/
เรียบเรียงบทความโดย ภญ.นวพร สุขเดโชสว่าง B.Pharm of Mahidol University เภสัชศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล
References
1.Facebook Fanpage กระดูกกระเดี้ยว โดย มูลนิธิกระดูกพรุน