เหตุผล 8 ข้อ ล้นๆ ทำไมต้องเลือก!! แคลเซียมแอลทรีโอเนต จากข้าวโพด NON-GMO
1.แคลเซียมแอลทรีโอเนต
ให้แคลเซียมกับร่างกายสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับแคลเซียมชนิดอื่นๆ ในท้องตลาดในปริมาณสารประกอบแคลเซียมตั้งต้นเท่ากันเนื่องจากแคลเซียมอยู่ในรูปที่เป็นสารประกอบ จะต้องผ่านกระบวนการแตกตัว และดูดซึม ซึ่งหากดูเฉพาะปริมาณแคลเซียมที่แตกตัวได้ ในท้องตลาดส่วนใหญ่เป็นแคลเซียมคาร์บอเนต ให้แคลเซียมมากที่สุด คือ 40% แต่ในขั้นตอนดูดซึม ท้ายสุด ดูดซึมได้ 10% ของ 40% เท่านั้น
ในขณะที่แคลเซียมแอลทรีโอเนต ให้แคลเซียมที่แตกตัวได้ 13-15% แต่ในขั้นตอนดูดซึม ท้ายสุด ดูดซึมได้หมด จึงให้ปริมาณแคลเซียมที่เข้าสู่ร่างกายสูงที่สุด ในบรรดาแคลเซียมทุกชนิด
ยกตัวอย่างเช่น
- แคลเซียมคาร์บอเนต (เกิดจากแคลเซียม + คาร์บอเนต (หินปูน) ) จะให้ปริมาณแคลเซียม 40% และในขั้นตอนการดูดซึมสุดท้าย สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ 10% นั่นคือ ถ้าแคลเซียมคาร์บอเนต 1,000 มก. ร่างกายได้รับแคลเซียมจริงๆ 40 มก.
- ENEL Calmag แคลเซียมแอลทรีโอเนต จากข้าวโพด (แคลเซียม + แอลทรีโอเนต) จะให้ปริมาณแคลเซียม 13%-15% และในขั้นตอนสุดท้ายดูดซึมได้หมด (จากงานวิจัยสากลและผลจาก European Food Safty Autority (EFSA) ) นั่นคือ ถ้าแคลเซียมแอลทรีโอเนต 950 มก. ร่างกายได้รับแคลเซียมจริงๆ 124 – 143 มก.))
คำถาม : แคลเซียมในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทำไมให้แคลเซียมน้อยจัง ? แม้แต่แคลเซียมแอลทรีโอเนตที่ให้แคลเซียมสูงสุด ยังให้หลักร้อยมิลลิกรัม
สามารถอธิบายได้ ดังนี้
- หลักร้อยมิลลิกรัม สำหรับแคลเซียมแอลทรีโอเนต เป็นปริมาณที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ดีที่สุด /ครั้ง (ร่างกายคนเราดูดซึมแคลเซียมสูงสุด 500 มิลลิกรัม/ครั้ง)
- แคลเซียมไม่ใช่ทั้งหมดของระบบสุขภาพกระดูกและข้อ แต่ยังมีสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็น ที่ต้องทำงานควบคู่ไปกับแคลเซียม และมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าแคลเซียมเลย
- แคลเซียมในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร มุ่งเน้นไปที่การเติมเต็ม ไม่ให้ร่างกายขาดแคลเซียม จากการรับประทานอาหารไม่มีเพียงพอ
- อาหารที่เราบริโภคกันอยู่ทุกวันนี้ มีแคลเซียมน้อย ซึ่งจากผลสำรวจของกระทรวงสาธารณสุขไทยระบุชัดว่า คนไทยได้รับแคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอ อาหารบางชนิดมีแคลเซียมสูง แต่ร่างกายดูดซึมได้น้อย เช่นผลิตภัณฑ์จากนมวัว เพราะคนไทยส่วนใหญ่แพ้น้ำตาลแลคโตสในนม อาหารบางชนิดมีแคลเซียมสูง แต่ถูกขัดขวางการดูดซึมโดยเครื่องดื่มคาเฟอีน, ผักบางชนิดมีแคลเซียมสูงก็จริง แต่มีออกซาเลต ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งการดูดซึมของแคลเซียม ทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียมน้อยลง
อ่านบทความ ทำไมต้องกินแคลเซียมเสริม? กินแคลเซียมเสริมวันละกี่เม็ดดี ?
https://www.enelthailand.com/2021/09/18/how-to-eat-calcium/
2. Calcium L-threonate (แคลเซียมแอลทรีโอเนต) มีคุณสมบัติการดูดซึมที่ดี ไม่ตกค้างในร่างกาย จึงไม่ก่อให้เกิดนิ่ว หรือหินปูนในร่างกาย
อ่านบทความ ผลข้างเคียงของแคลเซียมรุ่นเก่า
https://www.enelthailand.com/2021/11/15/side-effect-of-calcium/
3. Calcium L-threonate (แคลเซียมแอลทรีโอเนต)
แคลเซียมแอลทรีโอเนต เป็นแคลเซียมชนิดเดียว ที่สามารถกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อคอลลาเจนที่กระดูก เอ็น และข้อต่อได้ เพราะมีแอลทรีโอเนต (ที่ได้จากการแตกตัวของแคลเซียมแอลทรีโอเนต) เป็น Active metabolite ของวิตามินซี
4. ประโยชน์ 2 ต่อ บำรุงทั้งกระดูก และข้อต่อในร่างกาย (แคลเซียมทั่วไปบำรุงได้แค่กระดูกแข็ง)
5. แหล่งผลิตจากข้าวโพด NON-GMO
รับรองการตรวจจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัย
NON- GMO คือ อาหารที่ทำขึ้นโดยไม่มีการดัดแปลงพันธุกรรม มีข้อดีคือ หมดกังวลเรื่องการแพ้ ,การปนเปื้อนสารพิษ ,คุณค่าทางโภชนาการ, ภาวะดื้อยา
6.ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ต่อร่างกาย
ทานได้ต่อเนื่องทุกวันเพราะคุณสมบัติดูดซึมดี ไม่ตกค้างและ Reference จาก European Food Safety Authority ได้ระบุว่า แคลเซียมแอลทรีโอเนต นอกจากจะให้แคลเซียมที่ร่างกายต้องการแล้ว ยังให้สารแอลทรีโอเนตออกมาด้วยซึ่งแอลทรีโอเนต เป็น endogenous compound คือเป็นสารที่อยู่ในร่างกายอยู่แล้ว ไม่ใช่สารก่อมะเร็ง หรือส่งผลต่อยีน พันธุกรรมให้ผิดปกติ
7.สูตรเพิ่มเติมสารอาหาร เสริมประสิทธิภาพแคลเซียม
เพราะกระดูก ฟัน และข้อต่อ นั้น ต้องการสารอาหารที่ช่วยการทำงานตามปกติของระบบกระดูกและข้อ และส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของแคลเซียม
ยกตัวอย่างเช่น
- แร่ธาตุแมกนีเซียม ช่วยนำแคลเซียมเก็บสะสมในกระดูก ฟัน อย่างถูกต้อง ป้องกันไม่ให้แคลเซียมเข้าสู่อวัยวะอื่นที่ไม่จำเป็น
- แร่ธาตุแมงกานีส
- ธาตุแมกนีเซียม
- แร่ธาตุโบรอน
- สารสกัดจากเมล็ดถั่วเหลือง
- สารสกัดจากงาดำ
- วิตามินดี 3
- กรดอะมิโน
8.ผลิตภัณฑ์และโรงงานผลิตที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อความมั่นใจก่อนเลือกรับประทาน
บทความโดย ภญ.นวพร สุขเดโชสว่าง B.Pharm of Mahidol University เภสัชศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล
References
1) Wang HY, Hu P, Jiang J. Pharmacokinetics and safety of calcium L-threonate in healthy volunteers after single and multiple oral administrations. Acta Pharmacol Sin 2011;32:1555-60.
2) European Food Safety Authority (EFSA). Opinion on calcium L-threonate for use as a source of calcium in food supplements. EFSA J 2008;866:1-20.