รู้จัก ลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน (Zeaxanthin)
ลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน (Zeaxanthin) เป็นสารมีสี หรือ รงควัตถุ ที่ได้จากธรรมชาติ จัดเป็นสารแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ชนิดหนึ่ง ร่างกายคนเราไม่สามารถสร้างสาร 2 ชนิดนี้ได้เอง จำเป็นต้องได้รับจากการรับประทานอาหาร ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ค้นพบแคโรทีนอยด์มากกว่า 1,100 ชนิด แต่มีเพียงลูทีนและ ซีแซนทีนเพียง 2 ชนิดเท่านั้น ที่พบในจุดรับภาพของจอประสาทตา
ความสำคัญ ของลูทีนและซีแซนทีน
- เป็นสารต้านอนุมูลอิสระให้กับดวงตาที่เซลล์รับแสง ป้องกันเซลล์รับแสง (photoreceptor cells)
- กรองแสงสีฟ้า (Blue light) เป็นคลื่นแสงพลังงานสูง ที่ออกมาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ มือถือ แทบเล็ต
โดยสรุป คือ ลูทีนและซีแซนทีน ทำหน้าที่ปกป้องเซลล์ของจอประสาทตา ช่วยกรองแสงลดความเสี่ยงจอประสาทตาเสื่อมและความเสื่อมของดวงตา
แหล่งที่พบ
ลูทีนและซีแซนทีนจากธรรมชาติ เช่น ดอกดาวเรือง บร็อคโคลี่ ผักปวยเล้ง ฟักทอง โกจิเบอร์รี่(เก๋ากี้) คะน้า กีวี่ เป็นต้น
ปริมาณที่แนะนำให้บริโภคเท่าไหร่?
ปริมาณสารอาหารที่แนะนำต่อวัน ที่ควรบริโภคทุกวันเพื่อรักษาสุขภาพที่ดี หรือ Dietary Recommended Intake (DRI) ยังไม่มีการกำหนดที่ชัดเจน ขนาดปกติเริ่มต้นที่ ลูทีน 10 มก./วัน และซีแซนทีน 2 มก./วัน
ขนาดสูงสุดที่สามารถบริโภคได้ : Tolerable Upper Intake Level (UL) ไม่มีกำหนดไว้ หากบริโภคมากเกินไป ซึ่งมีรายงานวิจัยลูทีนในขนาดมากกว่า 20 มก./วัน อาจทำให้ผิวออกสีเหลืองได้
ทั้งนี้ปริมาณของ RDI นั้นเป็นขั้นพื้นฐานของการรักษาสุขภาพ หากมีปัญหาสุขภาพดวงตาอยู่ หรือมีความเสี่ยงต่อสุขภาพดวงตา (ใช้สายตาหน้าจอคอมฯ, ใช้มือถือ, ต้องเจอเผชิญแสงแดด, ขาดการบริโภคผัก ไม้ ที่มีลูทีน ซีแซนทีน) ควรได้รับลูทีนและซีแซนทีนตั้งแต่ 10 mg – 20 mg /วัน
จากงานวิจัยการศึกษาทางคลินิก Age-related eye disease study 2 พบว่า ควรรับประทานลูทีนร่วมกับซีแซนทีน โดยมีปริมาณลูทีน 10 มก.ซีแซนทีน 2 มก. /วัน และหากมี วิตามินซี วิตามินอี แร่ธาตุซิงค์ และ แร่ธาตุคอปเปอร์ จะช่วยเสริมประสิทธิภาพ ชะลอการลุกลามของโรคจอประสาทตาเสื่อม ลดการสูญเสียการมองเห็นจากโรคดังกล่าว
จอประสาทตาเสื่อม คือ โรคที่เกิดจากความเสื่อมบริเวณส่วนกลางของจอประสาทตา อาการมักจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป จึงทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลงอย่างช้าๆ
โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคจอประสาทตาเสื่อม จะมีสัญญาณเตือนดังต่อไปนี้
- มองเห็นไม่ค่อยชัด
- ภาพที่เห็นบิดเบี้ยว
- เห็นสีผิดเพี้ยน
- มีจุดดำกลางภาพ
- มองในที่สว่างไม่ชัด/แพ้แสง
หมายเหตุ :
** Age-Related Eye Disease Study 2 เป็นการศึกษาทางคลินิกที่ใหญ่ที่สุด ดำเนินการโดย National Eye Institute (NEI) เพื่อศึกษาความเสื่อมของจอประสาทตา (AMD) และต้อกระจกที่เกี่ยวข้องกับอายุ มีผู้เข้าร่วมทดลองจำนวนมากถึง 4 พันคน
การศึกษายังมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติธรรมชาติและปัจจัยเสี่ยงของ AMD และต้อกระจก ผลการศึกษายืนยันประโยชน์ของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในการชะลอการลุกลามของโรค AMD
ความจริงที่เลี่ยงไม่ได้
- อายุมากขึ้น ลูทีนและซีแซนทีนในจอประสาทตาลดลง
- ร่างกายไม่สามารถสร้างลูทีนและซีแซนทีนเองได้
- สารอาหารในผัก ผลไม้ลดลง เมื่อเทียบกับ 70 ปีที่แล้ว ทำให้การรับประทานอาหารในปัจจุบันทำให้ได้รับลูทีนและซีแซนทีนน้อยลง (( อ่านบทความเพิ่มเติม https://www.enelthailand.com/2022/08/18/nutrients-for-eye-health/))
- การรับประทานอาหารปกติ ได้รับลูทีนและซีแซนทีน ไม่เพียงพอ ยกตัวอย่าง ร่างกายต้องการลูทีน 10 มิลลิกรัม ต้องรับประทานหน่อไม้ฝรั่ง 1.1 กิโลกรัม หรือ บร็อกโคลี 1.4 กิโลกรัม ซีแซนทีน 2 มิลลิกรัม ต้องรับประทาน น้ำส้ม 10 ลิตร หรือองุ่นเขียว 33 กิโลกรัม
เขียนและเรียบเรียงโดย ภญ.นวพร สุขเดโชสว่าง เภสัชศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล