ความว้าว ! ของไลโคปีน (lycopene) ดีต่อหัวใจ ดีต่อผิว ดีต่อตา ที่คุณไม่เคยรู้

ไลโคปีน จากมะเขือเทศ

ไลโคปีน (Lycopene) เป็นสารสำคัญที่พบได้ในผักผลไม้สีแดงส้ม จัดเป็นสารประกอบในกลุ่มแคโรทีนอยด์ พบไลโคปีนได้มากใน มะเขือเทศ แตงโม เกรพฟรุตสีชมพู ฝรั่งสีชมพู และมะละกอ เป็นต้น

ความว้าว ! ของไลโคปีน ไม่ใช่แค่เรื่องบำรุงผิวพรรณเท่านั้นค่ะ แต่ยังช่วยในการลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ และหลอดเลือด ,ช่วยต้านมะเร็งต่อมลูกหมาก และบำรุงสายตา อีกด้วย

เนื่องจากคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระของสารไลโคปีน และช่วยปกป้องความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย
พบว่าสารไลโคปีน มีประสิทธิภาพเหนือกว่าสารเบต้าแคโรทีนและสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์อื่นๆในการยับยั้งการเจริญเติบโคของเซลล์มะเร็ง
และยังพบว่าสารไลโคพีนสามารถช่วยลดโอกาสความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในต่อมลูกหมากได้มากถึงร้อยละ 20

การศึกษาในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ระบุว่า การป้องกันมะเร็งให้ได้ผล ควรกินมะเขือเทศให้ได้ไลโคปีนอย่างน้อย 6.5 มิลลิกรัม/วัน เทียบเท่ากับการกินอาหารที่มีมะเขือเทศเป็นส่วนผสมหลักประมาณ 10 ครั้ง/สัปดาห์

นอกจากนี้แล้ว ไลโคปีน ยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญกับดวงตาของเราอย่างมากมาย

ไลโคปีน (lycopene )  สำคัญต่อสุขภาพดวงตา ดังนี้ 

1.  โรคจอประสาทตาเสื่อม หรือจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม (Macular Degeneration)
เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากการเสื่อมของบริเวณจุดภาพชัดของจอตา ทำให้สูญเสียการมองเห็นส่วนกลางของภาพ  หากพบในผู้มีอายุ 50 ปี ขึ้นไป จะเรียกว่า “โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ” (Age related Macular degeneration)

รู้หรือไม่ !
พบว่าคนที่มีระดับไลโคปีน  ในเลือดต่ำมีโอกาสเป็นจอประสาทตาเสื่อม (AMD)  มากกว่าปกติถึงสองเท่า

ไลโคปีน เป็นสารตัวกลางในการสังเคราะห์เบต้าแคโรทีนและแซนโทฟิล (แคโรทีนอยด์ ที่มี oxygen ในโมเลกุล ได้แก่ Lutein และ Zeaxanthin)  ช่วยปกป้องเยื่อบุมีสารรงควัตถุของจอประสาทตา

2. ช่วยยับยั้งการเสื่อมของกล้ามเนื้อกระบอกตา 

3. ต้อกระจก และเบาหวานขึ้นตา ลดการดำเนินไปของต้อกระจก (เลนส์ตาขุ่น)  
โดยเฉพาะต้อกระจกที่เกิดจากภาวะเบาหวาน ไลโคปีนจะช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงของเลนส์ตา ซึ่งเกิดจากน้ำตาลสูงของภาวะเบาหวาน

4. ต้อหิน ช่วยบรรเทาความเสียหายของเส้นประสาทตา ที่เกิดจากความดันลูกตา  และปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ของต้อหิน 

 

ควรบริโภคมะเขืออย่างไรให้ได้ไลโคปีน (Lycopene ) สูง

มะเขือเทศที่ผ่านกระบวนการและความร้อน จะให้ไลโคปีนมากกว่ามะเขือเทศสด  ถึงแม้ว่าการให้ความร้อนอาจทำให้ปริมาณวิตามินซีลดลง
 แต่คุณค่าส่วนอื่นๆ ก็ยังดีกว่าอาหารอีกหลายชนิด
เพราะจากการศึกษาเปรียบเทียบปริมาณไลโคปีนในผลิตภัณฑ์ที่ทำจากมะเขือเทศ (ที่น้ำหนักเท่ากัน)  สามารถเรียงลำดับไลโคปีนจากน้อยไปมาก ได้คือ 
มะเขือเทศสด <  มะเขือเทศปรุงสุก <ซุปมะเขือเทศเข้มข้น  < น้ำมะเขือเทศ <ซอสมะเขือเทศ <มะเขือเทศผง < ผลิตภัณฑ์มะเขือเทศเข้มข้น

แต่ถ้าใครไม่ชอบการทานมะเขือเทศ ก็ไม่ต้องเสียใจไปค่ะ  เพราะในปัจจุบันมีกรรมวิธี
การสกัดไลโคปีนจากมะเขือเทศ ออกมาอยู่ในรูปแบบเม็ด ทานง่าย สะดวก รวดเร็ว

ปริมาณที่แนะนำต่อวัน

15 – 45  มิลลิกรัม / วัน *
ทั้งนี้ปริมาณไลโคปีนที่แนะนำต่อวันจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ เพศ และสุขภาพโดยรวม  ไม่มีการกำหนดเฉพาะตายตัว

ผลข้างเคียง

หากรับประทานในปริมาณปกติ 15- 45 มิลลิกรัม/วัน ไม่มีผลข้างเคียง
แต่หากรับประทานมากเกินไป อาจทำให้
คลื่นไส้ ตัวเหลือง  โดยอาการจะหายไปได้เองหลังจากหยุดรับประทาน

Reference (เอกสารอ้างอิง) 
 
1) Mares-Perlman JA, Brady WE, Klein R, Klein BE, Bowen P, Stacewicz-Sapuntzakis M, Palta M. Serum antioxidants and age-related macular degeneration in a population-based case-control study. Arch Ophthalmol. 1995;113(12):1518-23. 
 
2) Glaucoma Research Foundation
มูลนิธิวิจัยโรคต้อหิน 
https://www.glaucoma.org/treatment/what-vitamins-and-nutrients-will-help-prevent-my-glaucoma-from-worsening.php 
 
3) Natural Medicine Journal วารสารการแพทย์
https://www.naturalmedicinejournal.com/journal/2011-03/lycopenes-effects-health-and-diseases 
 
4) มะเขือเทศ กับ ไลโคพีน
สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
 

เรียบเรียงบทความโดย ภญ.นวพร สุขเดโชสว่าง B.Pharm of Mahidol University
เภสัชศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

error: Content is protected !!