เคมีสมองกับอารมณ์ ทำไมเราถึงสุข เศร้า หงุดหงิด โมโห ?

สารเคมีหรือสารสื่อประสาทในสมอง มีบทบาทสำคัญในการควบคุมอารมณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงหรือความผิดปกติของสารสื่อประสาทเหล่านี้สามารถส่งผลต่อการแสดงออกของอารมณ์หลายประเภท เช่น ซึมเศร้า หงุดหงิด โมโห หรือวิตกกังวล ในบทความนี้จะขออธิบายถึงอารมณ์หลักๆ ที่เกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง

1. อารมณ์ซึมเศร้า (Depression)

ภาวะซึมเศร้ามักเกี่ยวข้องกับการขาดสารสื่อประสาทบางชนิด เช่น เซโรโทนิน (Serotonin) และโดปามีน (Dopamine)

  • เซโรโทนิน (Serotonin): การขาดเซโรโทนินในสมองมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับอารมณ์ซึมเศร้า เซโรโทนินเป็นสารสื่อประสาทขั้นพื้นฐานที่ควรมีมากที่สุด มีบทบาทในการควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกพึงพอใจ ความสงบ ความสบายใจ รวมถึงส่งผลต่อการนอนหลับ เพราะเซโรโทนินเป็นสารตั้งต้นของเมลาโทนิน ถ้ามีน้อยเกินไป จะทำให้วิตกกังวล ท้อแท้ ซึมเศร้า และอาจทำให้เป็นโรคซึมเศร้า หดหู่ หรือไม่สนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ (Meyer et al., 2006)
  • โดปามีน (Dopamine) เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ชอบ พึงพอใจกับความสำเร็จ ความยินดี กระฉับกระเฉง กระตือรือร้น การขาดโดปามีน ทำให้รู้สึกไร้ชีวิตชีวา ขาดแรงจูงใจในการทำงาน และไม่สามารถรู้สึกพึงพอใจจากสิ่งต่างๆ ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า (Berton & Nestler, 2006)

2. อารมณ์หงุดหงิด (Irritability)

  • เซโรโทนิน (Serotonin): การขาดเซโรโทนิน หรือเซโรโทนินต่ำ เพราะเซโรโทนินมีบทบาทในการควบคุมอารมณ์
  • นอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine): การเพิ่มขึ้นของนอร์อิพิเนฟรินในสมองมักเกี่ยวข้องกับอารมณ์หงุดหงิดและการตอบสนองที่รุนแรงต่อความเครียด การมีระดับนอร์อิพิเนฟรินสูงอาจทำให้มีอารมณ์ฉุนเฉียว หงุดหงิด และโกรธง่าย (Charney, 2003)
  • กาบา (GABA): กาบาเป็นสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่ลดการกระตุ้นสมอง ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ถ้าระดับกาบาต่ำ อาจทำให้รู้สึกเครียด หรือหงุดหงิด (Rusch et al., 2010)

3. อารมณ์โมโห (Anger)

  • เซโรโทนิน (Serotonin) การขาดเซโรโทนิน หรือเซโรโทนินต่ำ เพราะเซโรโทนินมีบทบาทในการควบคุมอารมณ์
  • โดปามีน (Dopamine) โดปามีน สามารถส่งผลกระทบต่อการควบคุมอารมณ์รุนแรง หากโดปามีนมากเกินไป อาจทำให้มีพฤติกรรมก้าวร้าวหรือโมโหได้ง่าย (Chaudhury et al., 2013)
  • นอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) การมีระดับนอร์อิพิเนฟรินสูงเกินไปในสมอง อาจทำให้เกิดอารมณ์โมโหหรือกระตุ้นให้เกิดความเครียดสูง (Charney, 2003)

4. อารมณ์วิตกกังวล (Anxiety)

  • เซโรโทนิน (Serotonin) การขาดเซโรโทนินในสมองสามารถทำให้มีอาการวิตกกังวล เนื่องจากเซโรโทนินมีบทบาทในการควบคุมอารมณ์และการตอบสนองต่อความเครียด (Goodwin et al., 2012)
  • นอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) ความผิดปกติของนอร์อิพิเนฟรินที่สูงเกินไป ทำให้เกิดการตอบสนองทางอารมณ์ที่รุนแรง และอาจทำให้รู้สึกวิตกกังวลหรือเครียดมากเกินไป (Charney, 2003)
  • กาบา (GABA) การขาดกาบาในสมองสามารถทำให้เกิดอาการวิตกกังวล เนื่องจากกาบาทำหน้าที่ในลดการกระตุ้นของสมองและช่วยให้เกิดความสงบ (Rusch et al., 2010)

สารสื่อประสาทในสมองมีบทบาทสำคัญในการควบคุมและจัดการกับอารมณ์ต่างๆ การผิดปกติของสารสื่อประสาท เช่น เซโรโทนิน โดปามีน นอร์อิพิเนฟริน และกาบา สามารถทำให้เกิดอารมณ์ที่ไม่สมดุล เช่น ซึมเศร้า หงุดหงิด โมโห หรือวิตกกังวล

ทำอย่างไรเพื่อปรับสมดุลเคมีสมอง?

  1. ออกกำลังกาย
  2. นอนหลับอย่างมีคุณภาพ
  3. จัดการความเครียด
  4. การรับประทาน สารอาหารปรับสมดุลสารเคมี หรือ สารสื่อประสาทในสมอง

สมดุลเซโรโทนิน (Serotonin) เช่น แอล-ธีอะนีน (L-theanine), สารสกัดจากใบแปะก๊วย (Ginkgo Leaf Extract), น้ำมันปลา (Fish oil)

  • สมดุลโดปามีน (dopamine) เช่น แอล-ธีอะนีน (L-theanine), สารสกัดจากใบแปะก๊วย(Ginkgo Leaf Extract)
  • สมดุล กาบา (GABA) เช่น แอล-ธีอะนีน (L-theanine), ฟาร์มากาบา (PharmaGABA), สารสกัดจากใบบัวบก (Pennywort Extract)

5. หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำลายสมดุลสมอง เช่น ความเครียดสะสม , แอลกอฮอล์, คาเฟอีนที่มากเกินไป

6. การเข้าสังคมและการสัมผัสทางกาย

บทความโดย ภญ.นวพร สุขเดโชสว่าง B.Pharm of Mahidol University

References (เอกสารอ้างอิง)

1. Berton, O., & Nestler, E. J. (2006). New approaches to antidepressant drug discovery: beyond monoamines. Nature Reviews Neuroscience, 7(2), 137-151.

2. Canli, T., & Lesch, K. P. (2007). Long story short: the serotonin transporter in emotion regulation and social cognition. Nature Neuroscience, 10(9), 1103-1109.

3. Chaudhury, D., et al. (2013). Dopamine and the brain’s reward circuitry: implications for addiction and mood disorders. Neuroscientist, 19(3), 243-257.

4. Charney, D. S. (2003). Neuroanatomical mechanisms of anxiety and panic. Journal of Clinical Psychiatry, 64(suppl 4), 7-16.

5. Goodwin, G. M., et al. (2012). Serotonin and depression: a clinical perspective. Journal of Clinical Psychiatry, 73(5), 455-461.

6. Meyer, J. H., et al. (2006). Brain serotonin transporter binding in major depression and the effect of antidepressant treatment. Archives of General Psychiatry, 63(6), 602-609.

7. Rusch, N., et al. (2010). The role of GABA in psychiatric disorders. Neuropsychopharmacology, 35(1), 204-221.

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

error: Content is protected !!