ความลับของสารสื่อประสาท ช่วยให้สมองดี ได้อย่างไร ?
สารสื่อประสาท เกี่ยวข้องกับสมองดี ความจำดี อารมณ์ดี และการนอนหลับที่มีคุณภาพ (หลับลึก หลับสนิท หลับง่าย ตื่นขึ้นมาสดชื่น)
สารสื่อประสาท (neurotransmitters)
คือ สารเคมีที่มีหน้าที่ใน ส่งสัญญาณประสาทระหว่างเซลล์ประสาทเซลล์หนึ่ง ไปยังอีกเซลล์หนึ่ง มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย เช่น สมาธิ, ความจำ, ความอยากอาหาร, อารมณ์ ความรู้สึก การนอนหลับ นอกจากนี้ยังควบคุมการเต้นของหัวใจ การย่อยอาหาร การสืบพันธุ์ และอีกมากมาย
ซึ่งสารสื่อประสาท ควรจะมีความสมดุล เพื่อให้การใช้ชีวิตประจำวันของเราเป็นปกติ แต่เมื่อไหร่ที่สารสื่อประสาทไม่สมดุล ซึ่งส่วนใหญ่สารสื่อประสาทน้อย ก็จะทำให้เกิดความเครียดง่าย วิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ในระยะยาวจะเพิ่มความเสี่ยงการเสื่อมของเซลล์สมองได้
ในสมอง มีสารสื่อประสาทหลายชนิด ในบทความนี้ จะเน้นไปที่เรื่องความจำ ความฉลาด การเรียนรู้ อารมณ์ ความรู้สึก และการนอนหลับ
- อะซีทิลโคลีน (Acetylcholine)
เกี่ยวข้องกับความจำ ความฉลาด การเรียนรู้ การตื่นตัว หากมีน้อยเกินไปจะทำให้ ความจำเสื่อม สมาธิสั้น เรียนรู้ยาก หลับไม่สนิท และอาจทำให้เป็นโรคอัลไซเมอร์ และโรคพาร์กินสัน
- โดปามีน (Dopamine)
เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ชอบ พึงพอใจกับความสำเร็จ ความยินดี กระฉับกระเฉง กระตือรือร้น หากมีน้อยเกินไปทำให้ความจำบกพร่อง สมาธิสั้น เรียนรู้ยาก ขาดความกระตือรือร้น ขาดแรงจูงใจในการทำงาน การนอนหลับไม่สนิท และอาจทำให้เป็นโรคพาร์กินสัน และโรคสมาธิสั้น (ADHD) แต่ถ้ามีมากเกินไป จะทำให้มีปัญหาทางจิต หลงผิด และอาจทำให้เป็นโรคจิตเภท โรคไบโพลาร์
- เซโรโทนิน (Serotonin)
เป็นสารสื่อประสาทขั้นพื้นฐานที่ควรมีมากที่สุด เพราะเกี่ยวข้องกับสุขภาพกายที่แข็งแรงความสบายใจ สดชื่น มีสมาธิ ผ่อนคลาย สุขภาพจิตดี ความหิว การนอนหลับ ถ้ามีน้อยเกินไป จะทำให้วิตกกังวล ท้อแท้ ซึมเศร้า และอาจทำให้เป็นโรคซึมเศร้า
- กาบา (GABA)
เป็นสารสื่อประสาทชนิดยับยั้ง เป็นสารสื่อประสาทชนิดที่ผ่านบริเวณเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท จึงทำให้กระแสประสาทผ่านได้น้อยลง เพื่อรักษาสมดุลในสมองที่ได้รับการกระตุ้น ทำให้ผ่อนคลายและหลับสบาย ถ้ามีน้อยเกินไป จะทำให้เครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ
ทุกคน! รู้มั้ยคะว่า.. การทานสารอาหารบางชนิด ช่วยปรับสมดุลและเพิ่มสารสื่อประสาทได้
🔴 สารอาหารที่ช่วยเพิ่ม อะซีทิลโคลีน (acetylcholine) ได้
เช่น เลซิติน (Lecithin), โคลีน(Choline), สารสกัดจากพรมมิ (Brahmi Extract)
🔴 สารอาหารที่ช่วยเพิ่ม โดปามีน (dopamine)ได้ เช่น
แอล-ธีอะนีน (L-theanine), สารสกัดจากใบแปะก๊วย(Ginkgo Leaf Extract)
🔴 สารอาหารที่ช่วยเพิ่ม เซโรโทนิน (serotonin) ได้ เช่น
แอล-ธีอะนีน (L-theanine), สารสกัดจากใบแปะก๊วย (Ginkgo Leaf Extract), น้ำมันปลา (Fish oil)
🔴 สารอาหารที่ช่วยเพิ่ม GABA ได้ เช่น
แอล-ธีอะนีน (L-theanine), ฟาร์มากาบา (PharmaGABA), สารสกัดจากใบบัวบก (Pennywort Extract)
รู้แบบนี้แล้ว ใครอยากสร้างสมดุลของสารสื่อประสาท เพื่อให้สมองของเรามีสุขภาพดี ความจำดี ฉลาด อารมณ์ดี มีสมาธิ และนอนหลับได้ดี อย่าลืม! เพิ่มการบริโภคสารอาหารเหล่านี้ ในชีวิตประจำวันค่ะ
แต่ถ้าใครชีวิตเร่งรีบ มีเวลาน้อย สามารถเลือกเสริมผลิตภัณฑ์ ที่มีสารอาหารเหล่านี้ ก็เป็นทางเลือกที่ดีเช่นกันค่ะ
บทความโดย ภญ.นวพร สุขเดโชสว่าง B.Pharm of Mahidol University เภสัชศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล
References (เอกสารอ้างอิง)
1.Sheffler ZM, Reddy V, Sharath Pillarisetty L. Physiology, Neurotransmitters. StatPearls. 2022.
2.Nathan P.J., Lu K., Gray M., Oliver C. The neuropharmacology of l-theanine(N-ethyl-l-glutamine): A possible neuroprotective and cognitive enhancing agent. J. Herb. Pharmacother. 2006;6:21–30.
3.Kehr J, Yoshitake S, Ijiri S, Koch E, Nöldner M, Yoshitake T. Ginkgo biloba leaf extract (EGb 761) and its specific acylated flavonol constituents increase dopamine and acetylcholine levels in the rat medial prefrontal cortex: possible implications for the cognitive enhancing properties of EGb 761. Int Psychogeriatr. 2012;24 Suppl 1:S25–34.
4.Gohil KJ, Patel JA, Gajjar AK. Pharmacological Review on Centella asiatica: A Potential Herbal Cure-all. Indian J Pharm Sci. 2010 Sep;72(5):546-56
5. Fujibayashi M., Kamiya T., Takagaki K., Moritani T., “Activation of Autonomic Nervous System Activity by the Oral Ingestion of GABA,” J Jpn Soc Nutr Food Sci,2008: 61: 129-133.
6 webmd.com .Fish Oil to Treat Depression?
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง