เจาะลึกประเด็น น้ำมันปลา ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ?

น้ำมันปลา หัวใจเต้นผิดจังหวะ

งานวิจัยล่าสุดปี 2021 ที่ตีพิมพ์ในวารสารของสมาคมการแพทย์อเมริกัน JAMA (The Journal of the American Medical Association) ซึ่งได้รวบรวมผลมาจากงานวิจัยใหญ่ 4 ฉบับ

ฉบับที่ 1 ศึกษาในคนที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease, CVD) จำนวน 13,078 คน ให้รับประทานน้ำมันปลาซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นยา EPANOVA® 4 กรัม/วัน ( EPANOVA® 1เม็ด 1 กรัม มีปริมาณ DHA และ EPA รวมกันอย่างน้อย 850 มิลลิกรัม) เป็นระยะเวลา 42 เดือน พบการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว (Atrial Fibrillation , AF) เพิ่ม 1% เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม

ฉบับที่ 2 ศึกษาในคน 8,179 คน ให้รับประทานน้ำมันปลาซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นยา EPANOVA® 4 กรัม/วัน ( EPANOVA® 1เม็ด 1 กรัม มีปริมาณ DHA และ EPA รวมกันอย่างน้อย 850 มิลลิกรัม) เป็นระยะเวลา 4.9 ปี พบการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว (Atrial Fibrillation , AF) เพิ่ม 1.4% เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม

ฉบับที่ 3 ศึกษาในคน 1,027 ที่เริ่มเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย myocardial infarction ให้รับประทานน้ำมันปลา 1.8 กรัม/วัน ( มี EPA 930 mg DHA 660 mg) แต่งานวิจัยนี้ยังไม่สามารถสรุปผลได้ เนื่องจากค่า P ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

ฉบับที่ 4 ศึกษาในคนปกติ ไม่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด จำนวน 25,119 คน โดยกลุ่มหนึ่ง 12,542 คนให้รับประทานน้ำมันปลา 840 มิลลิกรัม/วัน (มี EPA 460 มิลลิกรัม DHA 380 มิลลิกรัม)

อีกกลุ่มหนึ่ง 12,557 คน ได้รับยาหลอก (ไม่มี EPA DHA) ทดสอบเป็นระยะเวลา 5.3 ปี ไม่พบความแตกต่างของการเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว (Atrial Fibrillation , AF)

บทสรุปประเด็นเรื่อง น้ำมันปลา ทำให้เกิด หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว (Atrial Fibrillation , AF) จริงหรือไม่ ?

คำตอบ : อาจเกิดขึ้นได้จริง ในกรณี ที่บุคคลนั้นเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด และรับประทานน้ำมันปลาขนาดสูง ( 4 กรัม/วัน ) ซึ่งมีปริมาณ DHA และ EPA สูงมากกว่าปกติ ( DHA + EPA 3,400 มิลลิกรัม/วัน )

แต่ในความเป็นจริง น้ำมันปลาในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ปริมาณน้อยกว่า (1 เม็ด 500 -1,000 มิลลิกรัม) และ มี EPA และ DHA น้อยกว่ามาก ( DHA + EPA 1 เม็ด 300 – 600 มิลลิกรัม)

เพราะฉะนั้น คนสุขภาพปกติ หรือแม้แต่คนที่มีความเสี่ยง หรือเป็นโรคหัวใจและหลอดแล้ว การรับประทานน้ำมันปลาในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร วันละ 1 – 2 เม็ด ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดหัวใจเต้นผิดตังหวะชนิดหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว (Atrial Fibrillation , AF)

อ่านประโยชน์ของน้ำมันปลา > https://www.enelthailand.com/2024/03/14/omega3-from-fish-oil/

บทความโดย ภญ.นวพร สุขเดโชสว่าง

B.Pharm of Mahidol University

เภสัชศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล

References (เอกสารอ้างอิง)

1.Curfman G. Omega-3 fatty acids and atrial fibrillation. JAMA. 2021;325:1063.

2. Nicholls SJ, Lincoff AM, Garcia M, et al. Effect of high-dose omega-3 fatty acids vs corn oil on major adverse cardiovascular events in patients at high cardiovascular risk: the STRENGTH randomized clinical trial. JAMA. 2020;324(22):2268-2280.

3.Bhatt DL, Steg PG, Miller M, et al; REDUCE-IT Investigators. Cardiovascular risk reduction with icosapent ethyl for hypertriglyceridemia. N Engl J Med. 2019;380(1):11-22.

4. Kalstad AA, Myhre PL, Laake K, et al; OMEMI Investigators. Effects of n-3 fatty acid supplementation in elderly patients after myocardial infarction: a randomized, controlled trial. Circulation. 2021;143(6):528-539.

5.Albert CM, Cook NR, Pester J, et al. Effect of marine omega-3 fatty acid and vitamin D supplementation on incident atrial fibrillation: a randomized clinical trial. JAMA. Published March 16, 2021.

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

error: Content is protected !!