แคลเซียม วิตามินเค2 และวิตามินดี ทำงานเกี่ยวข้องกันอย่างไร เรื่องระบบกระดูก

แคลเซียม วิตามินเค2 และ วิตามินดี3

วิตามินเค2 แคลเซียม และวิตามินดี3 บำรุงกระดูก เหมือนกัน แตกต่างกันตรงไหน ?

ตอบ : ทั้ง 3 สารอาหาร มีความจำเป็นต่อกระดูก โดยทำงานร่วมกัน ด้วยกลไกที่แตกต่างกัน

เมื่อเราทานแคลเซียมเข้าไปในร่างกาย วิตามินดี3 จะช่วยดูดซึมแคลเซียมจากลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือด จากนั้นจะเป็นขั้นตอนนำแคลเซียมเข้าไปเก็บสะสมในกระดูก

โดยวิตามินดี3 ทำงานร่วมกับวิตามินเค2 เพื่อให้เกิดการสร้าง osteocalcin จับกับแคลเซียมในเลือดไปเก็บที่กระดูก
ดังนั้น เพื่อให้กระดูกแข็งแรง เพิ่มมวลกระดูก จะขาดสารอาหารทั้ง 3 ชนิดไม่ได้

ทานแคลเซียมอยู่แล้ว จำเป็นต้องทาน Vitamin K2 (วิตามินเค2) ด้วยไหม ?

ตอบ: อันดับแรก ต้องเข้าใจความสำคัญของวิตามินเค2 ว่ามีประโยชน์อย่างไร แต่ก่อนเรารู้จักกันแค่วิตามินเค ไม่มีแบ่งชนิด แต่เมื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น ก็มีการค้นพบว่าจริงๆแแล้ว วิตามินเคมี 2 ชนิด คือ วิตามินเค1 และวิตามินเค2 สำหรับ วิตามินเค2 มีประโยชน์มากมาย แต่ประโยชน์ที่โดดเด่นที่สุดและมีงานวิจัยต่างๆสนับสนุนมากขึ้นในปัจจุบัน คือ เรื่องกระดูก และหลอดเลือด เพราะเป็นวิตามินที่จะนำแคลเซียมไปเก็บที่กระดูก เรียกได้ว่า แคลเซียมไปอยู่ถูกที่ ไม่เกาะตามหลอดเลือดและเนื้อเยื่อต่างๆ

คีย์สำคัญ

  • ป้องกันกระดูกพรุน เพิ่มมวลกระดูก เพิ่มความแข็งแรงกับกระดูก โดยทำงานร่วมกับแคลเซียม
  • ป้องกันแคลเซียมหรือหินปูนเกาะหลอดเลือด จึงป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

กลับมาที่คำถามว่า ทานแคลเซียมอยู่แล้ว จำเป็นต้องทาน วิตามินเค2 ด้วยไหม ?
ตอบ : ควรเสริม เพราะ คนส่วนใหญ่ขาดวิตามินเค2 ด้วยเหตุผลหลักๆ ดังนี้

  1. ในอาหารทั่วไปมีน้อยมาก ยกเว้นนัทโตะ ที่มีปริมาณวิตามินเค2 มาก
  2. ร่างกายขาดจุลินทรีย์ตัวดี หรือ โพรไบโอติกส์ ที่จะเปลี่ยนวิตามินเค1 ไปเป็นวิตามินเค2
    (* จุลินทรีย์ตัวดีในลำไส้ ผลิตวิตามินเค2 ได้ปริมาณหนึ่ง)
  3. ใช้ยาปฏิชีวนะบ่อย
  4. ทานผักใบเขียวน้อย (ผักใบเขียวให้วิตามินเค1 ซึ่งจุลินทรีย์ตัวดี หรือ โพรไบโอติกส์ในลำไส้ จะเปลี่ยนให้เป็นวิตามินเค2)

ไม่ว่าจะทานแคลเซียมชนิดใดอยู่ การเสริมวิตามินเค2 ก็ได้ประโยชน์มากกว่า การทานแคลเซียมอย่างเดียว

  1. กรณีทานแคลเซียมดูดซึมน้อย เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต ควรเสริมด้วยวิตามินเค2 เพื่อป้องกันแคลเซียมเกาะผนังหลอดเลือดซึ่งถือเป็นการลดผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นของแคลเซียมชนิดนี้
  2. กรณีทานแคลเซียมดูดซึมดีในตัวเอง ไม่ตกค้างในกระแสเลือด คือ Calcium L-threonate (แคลเซียมแอลทรีโอเนต) ควรเสริมด้วยวิตามินเค2 เพื่อนำแคลเซียมเข้าสู่กระดูก ทำให้กระดูกแข็งแรง 2 เท่า  จากการทานอาหารที่มีแคลเซียม และจากแคลเซียมแอลทรีโอเนต (แคลเซียมที่เสริม) ทั้งนี้ยังป้องกันแคลเซียมเกาะผนังหลอดเลือดด้วยเช่นกัน  เพราะแคลเซียมที่เสริมดูดซึมหมด เข้ากระดูกได้ดี และแคลเซียมจากอาหารก็เข้ากระดูกได้ดีเพราะมีวิตามินเค2  

ทานแค่ Vitamin K2 (วิตามินเค2) เพื่อบำรุงกระดูก ได้ไหม?

ตอบ : วิตามินเค2 นำแคลเซียมไปเก็บสะสมที่กระดูก ให้แคลเซียมอยู่ถูกที่ ไม่เกาะตามหลอดเลือดและเนื้อเยื่อต่างๆ

นั่นคือ

  • ป้องกันกระดูกพรุน เพิ่มมวลกระดูก เพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูก โดยทำงานร่วมกับแคลเซียม
  • ป้องกันแคลเซียมหรือหินปูนเกาะหลอดเลือด จึงป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

จะเห็นว่าทั้งแคลเซียมและวิตามินเค2 ทำงานร่วมกัน แต่คนส่วนใหญ่ขาดทั้งแคลเซียม และวิตามินเค2 (อ่านบทความวิชาการเพิ่มเติมได้)

ใครบ้าง ควรเสริมวิตามินเค2 (Vitamin K2)?

https://www.enelthailand.com/2024/03/01/who-should-supplement-with-vitamin-k2/

เจาะลึกทานแคลเซียมอย่างไร ให้เพียงพอ

https://www.enelthailand.com/2023/08/22/calcium-intake/

วิตามินเค2 (Vitamin K2) ในอาหารมีเท่าไหร่ ? เพียงพอต่อกระดูก และหลอดเลือดหรือไม่?

https://www.enelthailand.com/2024/03/05/how-much-vitamin-k2-in-food/

ดังนั้นเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ควรทานทั้งแคลเซียมและวิตามินเค2

เคล็ดลับ ! อย่าลืมเลือกแคลเซียมที่มีการดูดซึมดีด้วยนะ เช่น Calcium L-threonate (แคลเซียมแอลทรีโอเนต) ไม่ตกค้าง ไม่เกาะหลอดเลือด

เสริมแคลเซียม ทำให้เกิดแคลเซียมหรือหินปูนเกาะหลอดเลือดหรือไม่ ?

ตอบ : อาจจะใช่ และไม่ใช่ เพราะ แคลเซียมมีหลายชนิด ต้องดูว่าเป็นแคลเซียมชนิดใด

1. แคลเซียมทั่วไป ที่ดูดซึมน้อย

เช่น calcium carbonate , calcium citrate, และ calcium gluconate มีการศึกษาวิจัย ว่าอาจเป็นสาเหตุของการเกิดแคลเซียมหรือหินปูนเกาะหลอดเลือด แต่ทางการแพทย์ยังไม่ได้สรุปชัดเจน

2. แคลเซียมที่ดูดซึมได้ดี ไม่ใช่สาเหตุของหินปูนหรือแคลเซียมเกาะหลอดเลือด

Calcium L-threonate (แคลเซียมแอลทรีโอเนต) ละลายน้ำดี ดูดซึมง่าย และการศึกษาวิจัยทางคลินิก (clinical trial) คือการศึกษาวิจัยในมนุษย์ พบว่าดูดซึมได้ดี ไม่ตกค้างในหลอดเลือด

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

error: Content is protected !!