ปัจจัยเสี่ยง…แคลเซียมหรือหินปูนเกาะหลอดเลือด มีอะไรบ้าง ? การเสริมแคลเซียม เป็นตัวการหรือเปล่า? จำเป็นต้องเสริมแคลเซียมหรือไม่ ?

หินปูนเกาะหลอดเลือด

ก่อนอื่น ต้องมาทำความเข้าใจว่า การเสริมแคลเซียมจำเป็นหรือไม่?

การสำรวจสุขภาพประชากร ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในปีต่างๆ ตั้งแต่ 2536, 2546, 2547 พบว่าคนไทยในวัยผู้ใหญ่ ได้รับแคลเซียมจากอาหาร ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดมาก ดังนั้น การทานแคลเซียมเสริมจึงเป็นเรื่องสำคัญ

แคลเซียมหรือหินปูนเกาะหลอดเลือด เป็นภาวะที่พบบ่อยมากขึ้น ในปัจจุบัน สาเหตุเป็นเพราะ ปัจจุบันไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะคนเมืองที่ต้องใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ มักทานอาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารที่มีไขมันสูง สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ พักผ่อนน้อย สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความเสื่อมและการอักเสบของหลอดเลือด

ร่างกายพยายามจะซ่อมแซมหลอดเลือดด้วยการนำแคลเซียมไปอุดไว้ ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง จนอาจนำไปสู่การเสียชีวิตจากโรคต่างๆ

ปัจจัยเสี่ยง…แคลเซียมหรือหินปูนเกาะหลอดเลือด มีอะไรบ้าง ?

1.โรคไขมันในเลือดสูง : ระดับคอเลสเตอรอล LDL สูง
2.โรคเบาหวาน
3.กลุ่มอาการเมตาบอลิก

มี ภาวะต่างๆ อย่างน้อย 3 ข้อ ดังนี้

  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • ระดับคอเลสเตอรอล HDL ในเลือดต่ำ
  • ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
  • รอบเอวใหญ่
  • ความดันโลหิตสูง

4.โรคไตเรื้อรัง
5.การสูบบุหรี่
6.เสริมแคลเซียม (อาจเป็นสาเหตุ และไม่ใช่สาเหตุ)

เนื่องจากแคลเซียมมีหลายชนิด

1. แคลเซียมที่ใช้โดยทั่วไป มีการละลายน้ำน้อย ดูดซึมไม่หมด ได้แก่ calcium carbonate , calcium citrate, และ calcium gluconate มีการศึกษาวิจัย ว่าอาจจะเกี่ยวข้อง แต่ทั้งนี้ในทางการแพทย์ยังไม่ได้สรุปออกมาชัดเจนว่าเกิดจากแคลเซียมชนิดดังกล่าว

2. แคลเซียมที่ดูดซึมได้ดี ไม่ใช่สาเหตุของหินปูนหรือแคลเซียมเกาะหลอดเลือด แคลเซียมแอลทรีโอเนต มีคุณสมบัติละลายน้ำดี ดูดซึมง่าย และข้อมูลจาก การศึกษาวิจัยทางคลินิก (clinical trial) คือการศึกษาวิจัยในมนุษย์ ซึ่งเป็นการศึกษาทาง Pharmacokinetics หรือ เภสัชจลนศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาหนึ่งที่อยู่ในหลักสูตรการเรียนเภสัช โดย Pharmacokinetics จะหมายถึง การเป็นไปของยา เมื่อ ยาเข้าสู่ร่างกาย

พบว่า แคลเซียมแอลทรีโอเนต ดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว และเมื่อวัดปริมาณในเลือดที่เวลาต่างๆ พบว่าไม่มีการตกค้างในกระแสเลือด

นอกจากนี้องค์การความปลอดภัยอาหารแห่งยุโรป (EFSA) สนับสนุนการใช้แคลเซียมแอลทรีโอเนต เป็นแหล่งแคลเซียมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้อย่างปลอดภัย

สำคัญ สรุป!! ดังนั้นจะเห็นได้ว่า แคลเซียมเสริมไม่ใช่สาเหตุที่สำคัญ ที่ทำให้เกิดแคลเซียมหรือหินปูนเกาะหลอดเลือด สิ่งสำคัญคือปัจจัยรอบด้านข้างต้นมากกว่า

แต่หากมีความกังวลใจ ควรเลือกแคลเซียมที่มีการดูดซึมที่ดี ไม่ตกค้างในหลอดเลือด อย่างแคลเซียมแอลทรีโอเนต แล้วอาจเสริมด้วยวิตามินเค2 เพื่อความมั่นใจว่าจะช่วยนำแคลเซียมส่วนเกินที่อยู่ในเลือดไปเก็บที่กระดูก

(แคลเซียมในเลือดที่เกินความจำเป็น มาได้จากหลายที่ เช่น คนที่เป็นโรคกระดูกพรุน กระดูกบาง ร่างกายจะมีกลไกการสลายกระดูก คือสลายแคลเซียมออกจากกระดูก มาในเลือดอยู่ตลอด, ภาวะไทรอยด์ต่ำ ก็ทำให้เกิดการสลายแคลเซียมออกมาในเลือด, และปัจจัยเสี่ยงที่ได้กล่าวข้างต้น)

บทความโดย ภญ.นวพร สุขเดโชสว่าง B.Pharm of Mahidol University เภสัชศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล

References (เอกสารอ้างอิง)

1. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563.

2.Myung SK, et al. Calcium supplements and risk of cardiovascular disease: A meta-analysis of clinical trials. Nutrients. 2021; doi:10.3390/nu13020368.

3. Wang HY, Hu P, Jiang J. Pharmacokinetics and safety of calcium L-threonate in healthy volunteers after single and multiple oral administrations. Acta Pharmacol Sin 2011;32:1555-60.

4. European Food Safety Authority (EFSA). Opinion on calcium L-threonate for use as a source of calcium in food supplements. EFSA J 2008;866:1-20.

5.บทความ รพ.พญาไท

หินปูนเกาะหลอดเลือดหัวใจ ตัวการร้ายทำหลอดเลือดหัวใจตีบ

https://www.phyathai.com/th/article/calcified-plaques-coronary-artery-disease

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

error: Content is protected !!