Lactose intolerance แพ้น้ำตาลแลคโตสในนมวัว

Lactose intolerance แพ้น้ำตาลแลคโตสในนมวัว

แพ้น้ำตาลแลคโตสในนมวัว

นมวัวเป็นแหล่งอาหารที่มีแคลเซียมสูง แต่มีคนจำนวนมากที่แพ้น้ำตาลแลคโตสในนมวัว โดยมีอาการท้องอืด ปวดท้อง ผายลม คลื่นไส้ บางคนอาเจียน ถ่ายเหลว หลังดื่มนมวัว

Lactose intolerance

Lactose intolerance หรือการขาด/พร่องเอนไซม์แลคเตส (Lactase deficiency) คือ ภาวะที่ลำไส้ไม่สามารถผลิตน้ำย่อยออกมาย่อยน้ำตาลแลคโตส ที่อยู่ในนมได้เพียงพอ เมื่อน้ำตาลแลคโตสไม่ถูกย่อยและไม่ดูดซึมที่ลำไส้เล็ก จะไปถูกย่อยโดยการหมักที่ลำไส้ใหญ่ ทำให้เกิดก๊าซ และมีอาการในระบบทางเดินอาหาร

การดูดซึมสารอาหารต่างๆ จากนมลดลง โดยเฉพาะแคลเซียม ส่งผลให้ได้รับแคลเซียมจากนมไม่เพียงพอ

อาการ : ท้องอืด ปวดท้อง ผายลมบ่อย บางรายคลื่นไส้อาเจียน หรือท้องเสียถ่ายเหลว หลังดื่มนมประมาณ 30 นาที- 2 ชม. โดยแต่ละคนจะมีอาการมากหรือน้อย แตกต่างกัน

ผลสำรวจ

  • ผู้ใหญ่ทั่วโลกแพ้น้ำตาลแลคโตสในนมวัว 65-70% และพบมากที่สุด ในทวีปเอเชีย
  • ในคนไทย มีการศึกษาปี 2004 โดยใช้วิธีวัดค่าก๊าซไฮโดรเจนที่มากขึ้นในลมหายใจหลังได้รับน้ำตาลแลคโตส พบว่ามีการแพ้และการย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมวัวได้ไม่หมดถึง 51%
  • ในคนจีน ญี่ปุ่น เวียดนาม มีการศึกษาปี 2017 แพ้น้ำตาลแลคโตสในนมวัวมากถึง 100%ทำให้มีการคาดการณ์ว่า ณ ปัจจุบัน คนไทยน่าจะมีภาวะแพ้น้ำตาลแลคโตสในนมวัว มากกว่า 51%

แนวทางการดูแล และทางเลือก ป้องกันการขาดแคลเซียม

  1. เลี่ยงการดื่มนมขณะท้องว่าง จะทนแลคโตสได้ดีขึ้น เช่น ดื่มนมพร้อมอาหาร หรือดื่มครั้งละน้อยๆ หลายครั้งใน 1 วัน
  2. เลือกนมที่ไม่มีน้ำตาลแลคโตส (Lactose free milk) คือนมที่มีการเติมเอนไซม์เข้าไป ทำให้แลคโตสถูกย่อยไปแล้ว
  3. ทำให้นมจากพืชบางที่ จะมีการเติมแคลเซียม Tricalcium phosphate หรือ Calcium carbonate ลงไป เพื่อให้ระบุปริมาณแคลเซียมสูงในฉลากได้ ร่างกายดูดซึมแคลเซียมจากนม และนมเสริมแคลเซียม ได้ประมาณ 30%
  4. ลดหรืองด การดื่มนมและผลิตภัณฑ์จากนมวัว
  5. เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงจากแหล่งอื่นทดแทนนมวัว เช่น เต้าหู้ , ผักใบเขียว(ที่มีออกซาเลตต่ำ) , เนื้อปลา
  6. เสริมแคลเซียมที่ดูดซึมดี ไม่ตกค้าง และมาจากธรรมชาติ เช่น แคลเซียมแอลทรีโอเนต ที่ผลิตจากข้าวโพด NON-GMO ผ่านการรับรอง
Lactose intolerance แพ้น้ำตาลแลคโตสในนมวัว

References (เอกสารอ้างอิง)

1. https://cpmeiji.com/lactosefreemilk/knowledge บทความโดย พ.ญ. ณิชา สมหล่อ

อาจารย์ประจำหน่วยโภชนาการคลินิกฝ่ายอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

2.Bayless TM, Brown E, Paige DM. Lactase non-persistence and lactose intolerance. Curr Gastroenterol Rep. 2017; 19: 23-33

3. Matter R, Mazo DFC, Carrilho FJ. Lactose intolerance: diagnosis, genetic, and clinical factors. Clinical and Experimental Gastroenterology. 2012; 5: 113-121

4. University of Verginia Nutrition Sevice. UVA Digestive Health Center. General guideline for managing lactose intolerance. Available from https://uvahealth.com/services/digestive-health/images-and-docs/lactoseintolerance.pdf

5.Densupsooontorn N, Jirapinyo P, Thamonsiri, et al. Lactose intorelance in Thai adults. J Med Assoc Thai. 2004; 12: 1501-5

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

error: Content is protected !!