Gamma-aminobutyric acid (GABA)
กาบา เป็นสารสื่อประสาทประเภทยับยั้ง ที่สำคัญในระบบประสาทส่วนกลาง central nervous system (CNS) มีหน้าที่ลดการกระตุ้นการทำงานของเซลล์สมอง รักษาสมดุลในสมอง ทำให้เกิดความผ่อนคลาย สงบ มีสมาธิ การเรียนรู้ที่ดี และการนอนหลับที่มีคุณภาพ
โดยสามารถอธิบายกลไก ได้ดังนี้
- เพิ่มคลื่นไฟฟ้าสมองชนิดอัลฟ่า ลดคลื่นไฟฟ้าสมองเบต้า
- ลดคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียด
- กระตุ้นระบบประสาทพาราซิมพาเทติก
แหล่งอาหารที่มี GABA หรือช่วยให้ร่างกายผลิตกาบา ได้ เช่น ข้าวกล้องงอก, ธัญพืช, อาหารหมัก เช่น กิมจิ หากในสมองมี GABA น้อยหรือไม่เพียงพอ จะส่งผลต่อคุณภาพการนอนลดลง เกิดความวิตกกังวล ความเครียด ซึมเศร้า เรียนรู้ไม่ดี
อะไรทำให้ GABA ในสมองลดลง
พบว่าสาเหตุสำคัญ มาจากอายุที่เพิ่มขึ้นและสารเคมีปนเปื้อนในแหล่งอาหาร
ทำไมต้องเป็น GABA จากธรรมชาติเท่านั้น?
GABA จากธรรมชาติที่ผ่านขั้นตอนการหมักเท่านั้น พบว่าได้ผลลัพธ์ที่ดี และ GABA จากธรรมชาติ เช่น PharmaGABA มีการศึกษาวิจัยทางคลินิกรับรองเพียงพอทั้งประสิทธิผลและความปลอดภัย จนได้รับ Food for Specified Health Uses (FOSHU) ของกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ ของประเทศญี่ปุ่น (Ministry of Health, Labour and Welfare)
FOSHU หมายถึงอาหารที่มีส่วนผสมที่มีผลดีต่อสุขภาพและได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการว่ามีผลทางสรีรวิทยาต่อร่างกายมนุษย์ และญี่ปุ่นยังอนุญาตให้ กล่าวถึงสรรพคุณได้ (Foods with Function Claims, FFC) เพื่อทำให้ผู้บริโภคเข้าใจประโยชน์ของอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้น
ส่วน GABA สังเคราะห์ ไม่ให้ฤทธิ์ทางชีวภาพ ผลิตจากไพร์โรลิดิโนน ซึ่งเป็นตัวทำละลายทางอุตสาหกรรมที่ไม่ปลอดภัย และยังไม่ได้รับรอง Food for Specified Health Uses (FOSHU)
การศึกษาวิจัยทางคลินิก (Clinical trials) ของ PharmaGABA
- PharmaGABA ลดความเครียด เพิ่มคุณภาพการนอนหลับ และลดความถี่ของการปัสสาวะตอนกลางคืนในผู้สูงอายุ โดยการศึกษาวิจัยในผู้สูงอายุ 38 คน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ แบ่งกลุ่มเป็น กลุ่มที่ได้รับ PharmaGABA วันละ 100 มิลลิกรัม และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก (ไม่มี PharmaGABA) หลังจากนั้นวัดระดับคอร์ติซอล(ฮอร์โมนความเครียด) ในน้ำลาย และให้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับการนอนหลับและคุณภาพชีวิต (QOL) กลุ่มที่ได้รับ PharmaGABA มีคอร์ติซอลเพิ่มน้อยกว่า และมีคุณภาพการนอนที่ดีขึ้น หลับง่ายขึ้น ลดการตื่นกลางดึก ตื่นเช้าง่วงน้อยลง ลดความถี่การปัสสาวะตอนกลางคืน
- PharmaGABA เพิ่มสมาธิ เพิ่มการจดจ่อ เพิ่มความสามารถในการใช้เหตุผล เข้าใจนามธรรม เพิ่มความคิดเชิงตรรกะ โดยการศึกษาวิจัยในกลุ่มผู้ใหญ่ อายุมากกว่า 40 ปี ได้รับ PharmaGABA วันละ 200 มิลลิกรัม
- การศึกษาวิจัยทางคลินิก เปรียบเทียบ Cognitive function ของ PharmaGABA ในขนาด 100 มิลลิกรัม และ 200 มิลลิกรัม (รูปที่ 1) พบว่า PharmaGABA ขนาด 200 mg /วัน เพิ่ม Cognitive function ได้ดีกว่าขนาด 100 มิลลิกรัม/วัน
รูปที่ 1 เปรียบเทียบ Cognitive function ของ PharmaGABA ในขนาด 100 มิลลิกรัม และ 200 มิลลิกรัม/วัน
- PharmaGABA ลดเวลาการเคลิ้มหลับ และเพิ่มเวลาในการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ ประเมินผลโดยวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง EEG ในการศึกษาวิจัยให้ PharmaGABA ขนาด 100 มิลลิกรัม.เทียบกับยาหลอก(ไม่มี PharmaGABA) และเมื่อวัดระดับกาบาในเลือดพบว่า PharmaGABA มีการดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว ระดับกาบาสูงสุด 30 นาทีหลังจากรับประทาน
- Effects on Electroencephalogram (EEG) เพิ่มคลื่นไฟฟ้าสมองอัลฟ่าและลดคลื่นไฟฟ้าสมองเบต้า คลื่นไฟฟ้าสมองอัลฟ่า ทำให้เกิดสมาธิ จิตใจที่สงบ ผ่อนคลาย และพร้อมเรียนรู้สิ่งต่างๆ ส่วนคลื่นไฟฟ้าสมองเบต้าเป็นตัวบ่งบอกถึงสภาวะจิตใจที่ว้าวุ่น กระวนกระวาย ความคิดสับสน
โดยการศึกษาวิจัยในมหาวิทยาลัยชิซูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น University of Shizuoka ในผู้มีสุขภาพดี อายุตั้งแต่ 21 ถึง อายุ 35 ปี ให้ PharmaGABA 100 มิลลิกรัม และ L-theanine 200 มิลลิกรัม
พบว่า ทั้ง PharmaGABA และ L-theanine เพิ่ม คลื่นไฟฟ้าสมองชนิดอัลฟ่าได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ PharamaGABA เพิ่มคลื่นไฟฟ้าสมองชนิดอัลฟ่าได้มากกว่า (รูปที่ 2)
รูปที่ 2 : changes of alpha waves generation ratios after administration of water (control), L-theanine, and PharmaGABA measured by electroencephalogram (EEG)
ทั้ง Pharmagaba และ L-theanine ลดคลื่นไฟฟ้าสมองชนิดเบต้าได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (รูปที่3)
รูปที่ 3 : changes of beta waves generation ratios after administration of water (control), L-theanine, and PharmaGABA measured by EEG
- PharmaGABA ลดระดับความเครียด และฮอร์โมนคอร์ติซอล (ฮอร์โมนความเครียด)
ให้คนที่กลัวความสูง เดินข้าม สะพานสูง เมื่ออยู่กลางสะพาน โดยปกติจะมีความเครียดสูงสุด
พบว่าคนที่ ได้ทาน pharmagaba ก่อนเดินข้ามสะพาน 30 นาที เมื่ออยู่กลางสะพาน จะมีโครโมแกรนินเอ น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ทาน Pharmagaba
**chromagranin A ที่วัดได้จากน้ำลาย เป็นตัวบ่งชี้ความเครียด (รูปที่ 4)
รูปที่ 4 : ปริมาณ chromagranin A ขณะเดินข้ามสะพานสูงตั้งแต่ก่อนเดิน, เดินถึงกลางสะพาน และเดินข้ามสะพานสำเร็จ
GABA ในรูปแบบ PharmaGABA ดีอย่างไร ?
✔ได้จากกระบวนการหมักตามธรรมชาติ ของแบคทีเรียโพรไบโอติก Lactobacillus hilgardii
✔หลังรับประทาน ร่างกายสามารถดูดซึมได้ดี ตามการศึกษาวิจัย
✔ เป็น Non-GMO คือไม่ผ่านการดัดแปลงพันธุกรรม
✔ ได้รับรองจาก USFDA (องค์การอาหารและยาของของสหรัฐอเมริกา) ให้เป็น GRAS (Generally Recognized as Safe) คือสามารถใช้ในอาหารได้อย่างปลอดภัย
✔ ได้รับรอง Food for Specified Health Uses (FOSHU) และ (Foods with Function Claims, FFC) จากกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการ ของประเทศญี่ปุ่น (Ministry of Health, Labour and Welfare)
ขนาดแนะนำสำหรับ PharmaGABA โดยทั่วไป 100-200 มก./วัน ไม่ควรเกิน 1,200 มก./วัน
รู้หรือไม่!
GABA (กาบา) และ L-theanine (แอลธีอะนีน) ออกฤทธิ์เป็น positive synergistic effect คือ การทาน GABA และ L-theanine คู่กัน จะช่วยให้นอนหลับได้เร็วขึ้น และเพิ่มคุณภาพการนอนหลับได้สนิทกว่าการทานอย่างใดอย่างหนึ่ง
เรียบเรียงบทความโดย ภญ.นวพร สุขเดโชสว่าง B.Pharm of Mahidol University
References (เอกสารอ้างอิง)
1.Mills DJ. The Aging GABAergic System and Its Nutritional Support. J Nutr Metab. 2021 Apr 25;2021:6655064.
2. Yamatsu A, Takeshima K, Yamane T, et al.Beneficial action of GABA on sleep and frequent night urination in the elderly. Japanese Pharmacology and Therapeutics. 2013;41:985-988.
3. Yamatsu A, Nakamura U, Saddam HM, et al.Intake of 200 mg / day of gamma-aminobutyric
acid (GABA) improves a wide range of cognitive functions. Jpn Pharmacol Ther 2020;48
(3):461-474.
4. Yamatsu A.; Nakamura U.; et al.Improvement of Memory and Spatial Cognitive Function by Continuous Ingestion of 100mg/day of gamma-Aminobutyric Acid (GABA) – A Randomized, Double-blind,Placebo-controlled Parallel-group Clinical Trial. Jpn Pharmacol Ther, 2020, 48(3), 475-86.
5. Yamatsu A.; Nakamura U.; et al. Intake of 200 mg/day of gamma-Aminobutyric acid(GABA) improves a wide range of cognitive functions – A randomized, double-blind,placebo-controlled parallel-group clinical trial. Jpn Pharmacol Ther, 2020, 48(3), 461-74.
6. Hepsomali P, Groeger JA, Nishihira J, Scholey A.Effects of Oral Gamma-Aminobutyric Acid
(GABA) Administration on Stress and Sleep in Humans: A Systematic Review. Front Neurosci.
2020;14:923.
7.Abdoua A.M., Higashiguchia S., Horiea K., et al., “Relaxation and immunity enhancement effects of Gamma-Aminobutyric acid (GABA) administration in humans,” BioFactors 2006; 26: 201-208.
8. Heli Z, Hongyu C, Dapeng B, Yee Shin T, Yejun Z, Xi Z, Yingying W. Recent advances of y-aminobutyric acid: Physiological and immunity function, enrichment, and metabolic pathway. Front Nutr. 2022 Dec 22;9:1076223.
9. Ngo DH, Vo TS. An Updated Review on Pharmaceutical Properties of Gamma-Aminobutyric Acid. Molecules. 2019 Jul 24;24(15):2678.
10. Liwinski T, Lang UE, Bruhl AB, Schneider E.Exploring the Therapeutic Potential of Gamma-Aminobutyric Acid in Stress and Depressive Disorders through the Gut-Brain Axis. Biomedicines. 2023 Nov 24;11(12):3128.
11.Mills DJ. The Aging GABAergic System and Its Nutritional Support. J Nutr Metab. 2021 Apr 25;2021:6655064.
12.Kim,S., Jo, K., Hong, K. B., Han, S. H., & Suh,H.J.(2019). GABA and l-theanine mixture decreases sleep latency and improves NREM sleep. Pharmaceutical biology, 57(1), 65-73.
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง