มลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่น PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน

PM2.5 and Osteoporosis

จากงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเกี่ยวกับสุขภาพ งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ปี 2017
ระบุว่ามลพิษทางอากาศจากฝุ่น PM2.5 ในเมืองบอสตันของสหรัฐฯ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้มีผู้ป่วยกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนถึงกว่า 86,000 รายต่อปี

สถาบันเพื่อสุขภาพโลกแห่งบาร์เซโลนา (ISGlobal) ประเทศสเปน ตีพิมพ์ผลการศึกษาในวารสารการแพทย์ JAMA Network Open พบว่า วัยผู้ใหญ่ตอนต้นของเมืองที่มีฝุ่นละออง PM2.5 ในระดับสูง มีแนวโน้มที่สัดส่วนแร่ธาตุในกระดูกจะลดลง

นักวิจัย วิเคราะห์ หาก PM2.5 เพิ่มขึ้นทุก 3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูกของประชากรทั้งผู้หญิงและผู้ชายจะลดลง ในกระดูกสันหลัง ลดลง 0.011 กรัมต่อตารางเซนติเมตร และในกระดูกสะโพกลดลง 0.004 กรัมต่อตารางเซนติเมตร

สรุปผลมลพิษ ฝุ่นละลอง มีผลทำให้เกิด

  • การแตกหักของกระดูก
  • ระดับแคลเซียมและฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อการสร้างกระดูก ลดลง
  • ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง
  • ฮอร์โมนพาราไทรอยด์ในเลือดต่ำลง ส่งผลให้มวลกระดูกลดลงได้

((ฮอร์โมนชนิดนี้ เป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมระดับแคลเซียมที่ใช้ในการสร้างกระดูก))

นอกจากนี้ โลหะหนักในอากาศ เช่น ตะกั่ว แคดเมียม และปรอท ก็สามารถเข้าไปอยู่ในกระดูกได้ผ่านการหายใจ ซึ่งมีผลกระทบต่อ

  • ความเข้มข้นของวิตามินดี ซึ่งเป็นตัวช่วยควบคุมระดับแคลเซียม
  • ผลยับยั้งการทำงานของออสทีโอบลาสต์ (Osteoblasts) ที่เป็นเซลล์สร้างกระดูก และกระตุ้น
    ออสทีโอคลาสต์ (Osteoclasts) ที่เป็นเซลล์ทำลายกระดูกด้วย

บทความโดย ภญ.นวพร สุขเดโชสว่าง B.Pharm of Mahidol University เภสัชศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล

References

  1. TECHTIMES. Air Pollution Linked To Increased Risk For Osteoporosis And Bone Fractures: Study.
  2. https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/news_3334398
  3. NCBI. Exposure to air pollution increases the risk of osteoporosis: a nationwide longitudinal study. สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2560
  4. Forbes. What Air Pollution Can Do To Your Bones.
  5. Greenpeace. ฝุ่นพิษ PM2.5 ทำไมใครก็ว่าร้าย? สืบค้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2560

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

error: Content is protected !!