ความสำคัญของแคลเซียม
1) เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน
2) ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือด หยุดไหลเวลาเกิดบาดแผล
3) ช่วยในการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ และหัวใจให้เป็นปกติ
อาการที่บ่งบอกว่าร่างกายขาดแคลเซียม
– อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ
– เป็นตะคริว กล้ามเนื้อเกร็ง กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อกระตุก
– อาการชา เสียวหรือปวดคล้ายถูกเข็มแทงตามใบหน้า ปาก มือ หรือเท้า
– สั่น หรือทรงตัวลำบาก
– กระดูกพรุน กระดูกบาง กระดูกหักง่าย
– มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ
– เล็บเปราะบาง
– ผมยาวช้า ผิวหนังบางหรือแห้ง
– มีอารมณ์เปลี่ยนแปลง เช่น รู้สึกวิตกกังวล สับสน ซึมเศร้า หงุดหงิด เป็นต้น
จำเป็นต้องทานแคลเซียมเสริมในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือไม่ ?
จากผลสำรวจพบว่า คนไทยได้รับแคลเซียมจากอาหาร น้อยมากเฉลี่ยเพียงวันละ 361 มิลลิกรัม( ที่มาจาก เดลินิวส์ ฉบับวันที่24 ธันวาคม 2561)
ในขณะที่ความต้องการแคลเซียมปกติของร่างกาย 1,000 มิลลิกรัม นอกจากนี้ รศ.นพ.นรัตถพล แพทย์ผู้คว้าผลงานวิจัย ม.มหิดล ระบุว่าคนไทยประมาณ 50% ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอในแต่ละวัน
(ที่มา สสส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 27 มิถุนายน 2554 )
ทั้งนี้ แม้ว่า “นมวัว” จะเป็นแหล่งที่มีแคลเซียมสูง แต่คนเอเชียและคนไทย มีอัตราการแพ้น้ำตาลแลคโตสในนมสูงกว่า 50% และแนวโน้มเพิ่มขึ้น (อาการท้องเสีย ท้องอืด ปวดท้อง หลังบริโภคผลิตภัณฑ์จากนมวัว) ทำให้ไม่ได้รับแคลเซียมจากการบริโภคนมวัวอย่างเพียงพอ
ดังนั้นการทานแคลเซียมในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจึงเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่จะช่วยให้ร่างกายได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ
ผลข้างเคียงจากการทานแคลเซียมเสริม ?
พบได้ในแคลเซียมที่มีการดูดซึมไม่ดีหรือดูดซึมน้อย เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต , แคลเซียมซิเตรต ,แคลเซียมกลูโคเนต โดยอาการที่พบคือ ท้องผูก ปวดท้อง แน่นท้อง มีแก๊สในกระเพาะอาหารมาก(พบมากในแคลเซียมเม็ดฟู่ ) นอกจากนี้ผลข้างเคียงในระยะยาว ที่พบได้คือ หินปูนเกาะตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย , นิ่วที่ไต, หินปูนในหลอดเลือด
ในท้องตลาดส่วนใหญ่ยังเป็นแคลเซียมรุ่นเก่า ทำให้มีคำเตือนว่า ก่อนทานแคลเซียม ต้องปรึกษาแพทย์และเภสัชกร ไม่ควรซื้อมาทานเอง
แต่ ณ ปัจจุบันมีการค้นพบแคลเซียมชนิดใหม่ ได้จากอาหารธรรมชาติ เช่น แคลเซียมจากข้าวโพด ,แคลเซียมจากปลา, แคลเซียมจากปะการัง และที่ไม่มีผลข้างเคียงดังที่กล่าวมาข้างต้น ผู้บริโภคสามารถหาซื้อทานเองได้อย่างปลอดภัย แต่หาซื้อยากกว่า และราคาจะสูงกว่าแคลเซียมรุ่นเก่า
รูปแบบของผลิตภัณฑ์แคลเซียม
ปัจจุบันมีแคลเซียม ที่เป็นรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำนวนมาก และชื่อเรียกก็แตกต่างกัน ผู้บริโภคสามารถสังเกตได้เองง่ายๆ โดยการอ่านฉลากด้านหลังของผลิตภัณฑ์
1) แคลเซียมคาร์บอเนต มีมากที่สุดในท้องตลาด รวมถึงใช้ รพ.เพราะหาง่าย ราคาถูก ทำจากหินปูนหรือกระดูกสัตว์ป่น ไม่ละลายน้ำ ต้องอาศัยกรดในกระเพาะช่วยให้ละลายและแตกตัวก่อนดูดซึม ให้ปริมาณแคลเซียม 40% แต่ดูดซึมสุดท้ายได้ 10% ดังนั้นถ้าทานแคลเซียมคาร์บอเนต 1,500 มิลลิกรัม/เม็ด จะได้แคลเซียม 600 มิลลิกรัม และดูดซึมเข้าสู่ร่างกายสุดท้ายได้ 60 มิลลิกรัม
2) แคลเซียมซิเตรต ทำจากนม ให้ปริมาณแคลเซียม 21% แต่ดูดซึมสุดท้ายได้ 50% ควรทานหลังอาหารเช่นเดียวกับแคลเซียมคาร์บอเนต เพื่อให้กรดในกระเพาะอาหารช่วยการละลายและแตกตัว
3) แคลเซียมกลูโคเนต ให้ปริมาณแคลเซียมค่อนข้างต่ำ 9% จึงไม่ค่อยนิยมมากนัก
ปัจจุบันมักใช้เป็นยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
4) แคลเซียมอะมิโน แอซิต คีเลต เป็นฟอร์ม แคลเซียม รวมกับกรดอะมิโน ละลายน้ำได้ดี ดูดซึมได้ 80-90%
5) แคลเซียมแอลทรีโอเนต จัดเป็นวิตามินแคลเซียม เพราะได้จากกระบวนการผลิตวิตามินซีในข้าวโพด เป็นแคลเซียมที่วงการแพทย์ anti-aging (เวชศาสตร์ชะลอวัย) ให้การยอมรับมากที่สุด เพราะมีงานวิจัยสากลที่รับรอง และมีการอ้างอิงในฐานข้อมูลใหญ่ทางการแพทย์ คือ pubmed คุณสมบัติการละลายน้ำดีและการดูดซึมดีมาก 90-95% ไม่ตกค้างในร่างกายไม่ต้องอาศัยกรดในกระเพาะอาหารช่วยในการดูดซึม ไม่ต้องใช้วิตามินดีช่วยในการดูดซึม จึงทานเวลาใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทานหลังอาหารเหมือนแคลเซียมรุ่นเก่า
ข้อดีของแคลเซียมแอลทรีโอเนต
ที่ดีกว่าแคลเซียมชนิดอื่นๆ คือ นอกจากจะเป็นแคลเซียมจากอาหารธรรมชาติ ดูดซึมได้ดีแล้ว งานวิจัยพบว่าสามารถช่วยสร้างคอลลาเจนได้อีกด้วย เพราะมี แอลทรีโอเนต เป็น active metabolite ของวิตามินซี ทำหน้าที่เพิ่มปริมาณวิตามินซี ซึ่งจะช่วยกระบวนการสร้างคอลลาเจนที่กระดูกแข็ง และสร้างคอลลาเจนที่กระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อ ทำให้กระดูกอ่อนที่ข้อต่อที่สึกกร่อนจากภาวะข้อเสื่อม ได้รับการซ่อมแซม กระดูกอ่อนจึงทำหน้าที่สร้างน้ำเลี้ยงไขข้อตามปกติได้ ดังนั้นแคลเซียมแอลทรีโอเนต จึงได้ผลดีในการดูแลข้อเข่าเสื่อมด้วย
ผลข้างเคียงของแคลเซียมแอลทรีโอเนต
ไม่พบผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์
เพราะไม่ตกค้างในร่างกาย และเป็นสารที่อยู่ในร่างกายตามธรรมชาติอยู่แล้ว
6)แคลเซียมจากอาหารธรรมชาติอื่นๆ เช่น
-แคลเซียมจากปะการัง ก็เป็นแคลเซียมจากธรรมชาติอีกรูปแบบหนึ่งที่มีการดูดซึมที่ดี แต่นักวิชาการบางท่านยังไม่สนับสนุนมากนัก ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่อยากให้เกิดการทำลายธรรมชาติ
-แคลเซียมจากปะการัง ก็เป็นแคลเซียมจากธรรมชาติอีกรูปแบบหนึ่งที่มีการดูดซึมที่ดี แต่นักวิชาการบางท่านยังไม่สนับสนุนมากนัก ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่อยากให้เกิดการทำลายธรรมชาติ
-แคลเซียมจากปลา คือ แคลเซียมไฮดรอกซีอะพาไทต์ (Calcium Hydroxyapatite)
เป็นสารอนินทรีย์ซึ่งเป็นองค์ประกอบในกระดูก ร่างกายดูดซึมได้ดี เช่นเดียวกับแคลเซียมจากอาหารธรรมชาติอื่นๆ
.
References (เอกสารอ้างอิง)
1) Wang HY, Hu P, Jiang J. Pharmacokinetics and safety of calcium L-threonate in healthy volunteers after single and multiple oral administrations. Acta Pharmacol Sin 2011;32:1555-60.
2) European Food Safety Authority (EFSA). Opinion on calcium L-threonate for use as a source of calcium in food supplements. EFSA J 2008;866:1-20.
3) NIH Consensus Development Panel on Optimal Calcium Intake. (1994). OptimalCalcium Intake. JAMA. 272, 1942-1948.
4) Densupsooontorn N, Jirapinyo P, Thamonsiri, et al. Lactose intorelance in Thai adults. J Med Assoc Thai. 2004; 12: 1501-5
5) medthai แคลเซียมกลูโคเนต
6) Bangkok hospital รู้จักแคลเซียมให้ดีกว่าเดิม
เรียบเรียงข้อมูล โดย ภญ.มหิดล นวพร สุขเดโชสว่าง (เภสัชกรมดน้อย)